【Graphic Design】3 เพลงอัลบั้มไต้หวันบอกเล่าสตอรี่วัฒนธรรมทางสังคม
หลังจบงาน TOTY Music Award อันเป็นงานเฉลิมฉลองสำหรับวงการดนตรีไทยก็ได้ถือกำเนิดรางวัล Best Cover Art และ Best Album Packaging ของปีไปเป็นที่เรียบร้อยการถือมอบรางวัลนี้ นอกเสียจากจะให้ผู้ชมได้ชื่นชม และแสดงความเข้าใจต่อผลงานดนตรีแล้ว ยังให้เห็นถึงความสำคัญที่ประเทศไทยมีต่ออุตสาหกรรมดนตรีในทุกมิติ เน้นยํ้าเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์มุ่งหมายที่จะผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ส่งออกความโดดเด่นของประเทศ
แม้ดิจิตอลอัลบั้ม และสตรีมมิ่งต่าง ๆ เป็นที่นิยมในปัจจุบัน กราฟิกดีไซน์ปกอัลบั้มในไทยก็ยังเติบโตก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง นักออกแบบปกอัลบั้มอย่าง Hereodd, Peng Chanon Dogkillmen, Tritle และอีกหลายท่านยังได้ปล่อยผลงานดีเด่นออกมาอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มการเติบด้านกราฟิกดีไซน์ปกอัลบั้มในไต้หวันก็ไม่ต่างจากนี้ แม้แต่นักออกแบบชาวไต้หวันหลายท่านยังมีเป้าหมายเล็ก ๆ ว่า “อยากช่วยสร้างสรรค์งานอัลบั้ม ให้กับศิลปินนักร้องที่ชื่นชอบ”
เอกลักษณ์จากอัลบั้ม ถูกสอดแทรกใช้เพื่อบอกเล่าคอนเซ็ปต์ผลงานของวงดนตรี ศิลปิน ถัดมาได้กลายเป็นตัวกลางในการสื่อสารอันให้ผู้ชมทำความเข้าใจกับโลกวิสัยทัศน์ของศิลปิน กระทั่งใช้เป็นตัวกลางที่นำความโดดเด่นทางศิลปวัฒนธรรมในสังคม เป็นฝ่ายส่งออกซอฟต์พาวเวอร์สู่สายตาคนทั่วโลก
ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้เอง อัลบั้มเพลง Pakelang นำวัฒณธรรมชนเผ่าอาเหม่ยมาเป็นแนวทางกราฟิกดีไซน์ปกอัลบั้ม และนักออกแบบชาวไต้หวันได้ขึ้นรับขึ้นรางวัล The Best Recording Package ใน GRAMMY Awards ขึ้นไปเตะเพดานสูงสุดในด้านงานออกแบบการดนตรี และบทความนี้จะพาไปแนะนำกับงานออกแบบอัลบั้มทั้ง 3 อันเป็นผลงานสะดุดตาในงาน Golden Pin Design Award จากไต้หวัน (เผลอ ๆ อาจจะได้เพิ่มเพลงเหล่านี้เข้าไปนอนอยู่ในเพลย์ลิสต์ของคุณหลังอ่านจบ)
Endless Playlist จาก Shallow Levée, เพลย์ลิสต์ระหว่างทางย้อนรอยเส้นทางเดินชีวิตจากวัย 30
หลังการเข้าร่วมงานแต่งของสมาชิกในวง วงดนตรี Soft rock ไต้หวัน Shallow Levée ปักใจที่จะสร้างผลงานอัลบั้ม เพื่อเปิดระหว่างทางไปร่วมงานวันแต่ง พร้อมเป็นเพลย์ลิสต์ย้อนมองเส้นทางชีวิต ให้มีความหมายอย่างชื่ออัลบั้มจีน
พวกเขาได้มาเล่นวงดนตรีตั้งแต่ยังวัยรุ่น อัลบั้มชุดนี้เปรียบเสมือนได้ย้อนรอยมองดูการเติบโตของตน ที่ได้ผ่านไประหว่างทางขนถึง 30 ปีมานี้ กระจกโค้งบนปกอัลบั้ม ไว้ให้ตัวผู้ฟังได้มองดูตนผ่านภาพสะท้อนในกระจกมองอีกครั้ง เมื่อเราได้มุ่งทางไปสู่ช่วงเหตุการณ์สำคัญของชีวิตคนรอบตัว และกลับมาย้อนดูตัวเราอีกครั้ง เราในช่วงเวลานี้ได้เติบโตเป็นคนที่เหมาะสม และเป็นผู้ใหญ่ที่น่าพึงพอใจแล้วหรือยัง
งานกราฟิกดีไซน์อัลบั้มชุดนี้ทั้งมวล ได้มอบบทบาทให้บทเพลงเป็นพวงมาลัยนำทาง พาผู้ฟังขับรถวิ่งลอดสู่ทางไปทะเล บรรยากาศทะเลผืนกว้างสีคราม กับท้องฟ้าโปร่งใส่อย่างฟิลหนังญี่ปุ่น พอได้ทอดสายตาสู่ท้องทะเล แม้ว่าบัดนี้ไม่ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ตนชอบ อย่างน้อยก็ได้ปล่อยวางในหลายอย่าง กลับมาที่แพคเกจจิ้งดีไซน์ของตัวอัลบั้ม ได้นำเทียบกับวิธีการเปิดการ์ดคำเชิญงานแต่ง เชิญชวนผู้ฟังเข้ามาในโลกดนตรี และเรื่องเล่าชีวิตของวงดนตรีเอง พร้อมทั้งได้แนบจดหมายตอบกลับ รอคอยผู้ฟังที่มาเข้าร่วมการเดินทางครั้งนี้ ฝากข้อความส่งกลับมาร่วมแชร์กับวงดนตรี
ไม่ทิ้งเซ่นไหว้ สองไม่ตกหล่น อัลบั้มชุดบ๊ายบายโย่ว (Bài Bài Yōu ) จากวง Jhen Yue Tang ที่นำมาเผาสู่การไหว้เจ้า
ยามที่มีภัยธรรมชาติ หรือชีวิตมีสิ่งอัปมงคลเกิดขึ้น ไม่ว่าจะคนไต้หวันหรือชาวไทย ล้วนจะได้เข้าไปเดินในศาลวัด กราบไหว้เพื่อขอจิตสงบร่มเย็น หรืออาจไปเข้าร่วมพิธีงานบูชาทำบุญสะเดาะเคราห์ บทคาถาท่องสวดในพิธีงานวัดวาอาราม และของเซ่นไหว้ทั้งหลายเหล่านั้นเอง ที่ได้นำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจผลงานดนตรีครั้งนี้
อัลบั้มชุดบ๊ายบายโย่วได้รับรางวัล Golden Pin Design Award สาขาการออกแบบด้านการสื่อสารในปี 2022 (ผู้ออกแบบ : Wang, Yi-Xiu, Liu, Ta-Chung ; แหล่งที่มาของรูป : Golden Pin Design Award)
Jhen Yue Tang นำหลักความเชื่อของชาวพื้นเมืองในไต้หวันมาสวมใส่กับความโมเดิร์น เอาเครื่องดนตรีจีนแบบดั่งเดิมอย่าง โซนาร์(เครื่องดนตรีดั่งเดิมจีน” ฆ้อง ฉาบ ดึงผสมผสานองค์ประกอบร็อคสไตล์ และดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ คำร้องพิธีตองตามประเพณี อย่างการนมัสการ พิธีการขอพรตามสไตล์ “ศาลเจ้าร็อก”คงคอนเซ็ปต์ออกแบบชุดอัลบั้มเป็นการเผาหงิ่งเตี๋ย (กระดาษเงินกระดาษทอง) หยิบเอาการไหว้ศาลศักดิ์สิทธิ์เจ้าโดยเผาหงิ่งเตี๋ย ใช้แสดงความเกรงขามการคารวะ ยังได้ขึ้นชื่อเป็น “อัลบั้มชุดแรกในโลกที่เผาได้” อัลบั้มชุดนี้ได้นำวัสดุกระดาษทองแบบจีนดั่งเดิมมาเป็นสารปนพิเศษในการพิมพ์ภาพ ปรากฏเป็นบทคาถาบนกระดาษทอง ในส่วนแพคเกจจิ้ง ได้คงวัสดุถุงพลาสติกที่เจอได้ในร้านขายของเซ่นไหว้ ให้ตัวอัลบั้มสามารถเป็นของไหว้ที่เห็นตามทั่วไป นอกจากนี้ ยังได้ใช้สารหอมที่สกัดขึ้นมาเฉพาะให้กับดนตรี โดยโรงเครื่องหอมร้อยปีจีน ให้อัลบั้มไม่ได้หยุดไว้ประสาทสัมผัสการได้ยิน ยังรวมนำความรู้สึกการสัมผัสและการรับรู้กลิ่น มาเป็นประสบการณ์ทางวัฒธรรมให้ได้ลิ้มลอง
ตามสไตล์ท้องถิ่น ก้าวข้ามสู่อินเตอร์ อัลบั้มชุด Pakelang จากวง 2nd Generation Falangao Singing Group & The Chairman Crossover Big Band
เราได้พูดคุยไป เกี่ยวกับผลงานดนตรีที่นำเรื่องเล่าชีวิต และวิถีความเชื่อมาสร้างสรรค์ ถัดมาแนะนำอัลบั้มชุด Pakelang ที่นำปัจจัยแนวเพลงท้องถิ่น และเทคนิคการขับร้องตามประเพณีของชนพื้นเมืองอาเหม่ยไต้หวัน มาผูกกับองค์ประกอบร็อคสไตล์กับดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ท้ายสุดได้เป็นสไตล์ดนตรีที่งอกงามขึ้นมาใหม่อย่างไม่เคยมีมา
อัลบั้มชุดนี้ได้แสดงถึงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มุ่งหมายที่จะนำเผยแพร่ไปสู่โลกข้างนอก ไม่เพียงแต่จำกัดไว้กับงานสร้างสรรค์ทางดนตรี ยังใช้เอกลักษณ์มาปรากฏให้เห็นอยู่บนงานดีไซน์อัลบั้ม เช่นภาพชายฝั่ง และภูมิทัศน์เทือกเขา ถูกจัดเรียงโดยนำกระดาษทับซ้อนกันบนแพจเกจ แทนชุนชนพื้นเมืองที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก อีกทั้งยังเป็นภาพเคลือบคลุมโครงหน้าหันข้างชาวพื้นเมืองฮัมเพลง เป็นการออกแบบที่นำคนและผืนดินมาเป็นหนึ่งเดียว
อัลบั้มชุด Pakelang ได้รับรางวัล Golden Pin Design Award สาขาการออกแบบด้านการสื่อสารในปี 2022 (ผู้ออกแบบ : Spread Design Studio ; แหล่งที่มาของรูป : Golden Pin Design Award, Spread Design Studio)
Booklet เนื้อเพลงได้ต่อเหนืองจากภาพปก ผสมกลมกลืนประเพณีพื้นเมืองอย่างโทเท็ม ตำนานสะพานสายรุ้ง (Rainbow Bridge) ใช้เครื่องแบบดั่งเดิม ทิวทัศน์ธรรมชาติ โครงหน้าผู้อาวุโส ท้องฟ้ายามค่ำคืนและอื่น ๆ ถูกดึงออกเป็นองค์ประสงค์หลักในผลงานดนตรีครั้งนี้
ในช่วงที่สังคมไทยกำลังคิด พูดคุย กับให้ความสนใจว่า การตลาดสายผลิตงานสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์นั้นเกาะตัวมายังไง และจะถูกส่งต่อยังไหร่ในเวลานี้
‘ดนตรี’ ถูกนำมาเป็นช่องทางการสื่อสารและยึดโยงกับปัญญาความคิด เป็นเอกลักษ์ที่ก้าวข้ามช่องว่างระหว่างภาษา ถ่ายทอดความรู้สึกอันละเอียดลึกซึ้ง ดั่งการย้อนรอยทางการเติบโตที่ได้พัดผ่าน ส่อแสดงถึงวิถีความเชื่อ และความหลากหลายทางวัฒนณธรรมพื้นเมืองท้องถิ่น ทั้งยังได้บ่งบานความโดดเด่นพิเศษของชาติในที่ต่างแดน เฉกเช่นนักออกแบบ Pakelang ที่ได้พูดคำกล่าวรับรางวัลบนแวที GRAMMY Awards ว่า “ไต้หวันเป็นประเทศที่ทั้งสวยงามและรักสันติภาพ หากวันหนึ่งคุณมีโอกาสมาเที่ยวไต้หวัน เรายินดีต้อนรับเป็นอย่างมากค่ะ”
หากวงการ T-pop กับสายงานสร้างสรรค์รงานออกแบบในไทย ก้าวไปยืนสู่เวทีโลก ส่งออกซอฟต์พาวเวอร์ (Soft power) แบบไทย ๆ Golden Pin Design Award ไต้หวันจะเป็นรางวัลบ่งชี้ถึงความสำเร็จก้าวแรกเพื่อไปสู่เวทีโลก และอยากเชิญชวนเหล่านักออกแบบ นักร้อง และศิลปินในไทย ให้การออกแบบเป็นอีกหนึ่งข้อความบอกเล่าเรื่องราวในผลงานดนตรี นำไปกล่าวสู่คนทั่วโลก