การออกแบบห้องเรียนที่ทำให้นักเรียนได้กลับมาเป็นศูนย์กลางการศึกษาอีกครั้ง : ฐานทัพลับของฉัน

ใครเป็นตัวเอกของการศึกษาในห้องเรียน? การออกแบบรีโนเวทห้องเรียนที่จะช่วยให้ศูนย์กลางของการศึกษาได้กลับมาอยู่ในมือของเด็กๆ ในห้องเรียนอีกครั้ง

เราจะสามารถส่งเสริม[แรงจูงใจ]ในการเรียนรู้ของเด็กๆ การค้นหาตัวตน ความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในห้องเรียนผ่านการออกแบบได้อย่างไร? เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2563) ห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกขึ้นสร้างใหม่โดยบริษัท Department of Architecture Co.ภายใต้แนวคิดการออกแบบตามนิยามการทำงานในยุคดิจิทัล ซึ่งเปลี่ยนจากห้องสมุดที่เต็มไปด้วยหนังสือแบบเดิมๆ ให้เข้ากับยุคปัจจุบันมากขึ้น เช่นการสร้างพื้นที่คุยงาน ประชุม หรือพื้นที่ต่างๆ สำหรับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา ทำให้งานออกแบบดังกล่าวได้รับรางวัการออกแบบสถาปัตยากรรม Blueprint Awards 2020 ของประเทศอังกฤษ และ ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี ของงานรางวัล Golden Pin Design Award ของประเทศไต้หวัน

เช่นเดียวกับออกแบบภายใต้โปรเจค TOSTEM Classroom  โดยคุณดลเทพ เจตีร์ ผู้ชนะการออกแบบ Degree Showsในปี 2561 ที่ได้ออกแบบห้องเรียนของเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ซึ่งรีโนเวทจากสถานที่เดิมซึ่งเป็นเพียงวัดให้มีพื้นที่กิจกรรมที่ปลอดภัยสำเหรับเด็กๆมากขึ้น โดยหวังที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขา อยากรู้ สงสัย และค้นหาตัวตนอย่างอิสระจากการออกแบบนี้

ที่จริงแล้วในไต้หวันไม่ใช่ทุกที่ที่มีอาร์ทแกลลอรี่หรือพิพิธพันธ์สวยๆ แต่เนื่องจากการค้นพบว่าเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลามากกว่า 10,000 ชั่วโมงในโรงเรียนในตลอดระยะเวลาการศึกษาจนกว่าจะจบชั้นมัธยมปลาย รัฐบาลไต้หวันซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ จึงอยากเริ่มต้นจากสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ให้กลายเป็นบรรยากาศที่ไม่ใช่แค่สถานที่สำหรับการเรียนรู้ในห้องเรียน แต่จะช่วยในการปลูกฝังความมีสุนทรียภาพและความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กนักเรียน

แล้วการออกแบบพื้นที่ในโรงเรียนรัฐบาล ระดับประถมถึงมัธยมปลายของไต้หวันที่มีอยู่ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง?

ในไต้หวัน พบว่ามีร้อยละ 98 ของโรงเรียนประถมเป็นโรงเรียนรัฐบาล  คุณหงเฮ่าจุน (Hong Hao-jun) จากโครงการออกแบบห้องเรียนประถมศึกษาเป่ยกังในเมืองนิวไทเปได้กล่าวว่า “ห้องเรียนจะต้องเป็นทั้งพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และเวทีที่สำหรับการแสดงความคิดสร้างสรรค์” นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนมัธยมปลายอีก 8 แห่งในไต้หวันได้ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่ภายใต้โปรเจคเดียวกัน โดยตั้งแต่ปี 2019 กระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการออกแบบและวิจัยแห่งไต้หวัน (Taiwan Design Research Institute)ได้ร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการสร้างโรงเรียนภายใต้โครงการ ‘學美.美學—校園美感設計實踐計畫’ โดยให้ทีมออกแบบได้เข้าไปทำการรีโนเวทในโรงเรียนประถมและมัธยมของไต้หวัน เพื่อปลูกฝังการซึบซับในความสวยงานและสุนทรียภาพจากสิ่งรอบตัวที่นอกจากการเรียนรู้ทั่วไปในห้องเรียน

โรงเรียนประถมเป่ยกัง เป็นโรงเรียนที่อยู่ในเขตซีจือของเมืองนิวไทเป โดยต้องนั่งรถเมล์ออกไปนอกเมืองหลวงไทเปก่อน หลังจากนั้นจึงลงรถแล้วเดินไปตามทางลาดเล็กๆ ก่อนจะถึงโรงเรียน เมื่อทีมออกแบบของบริษัทสถาปัตยกรรมกงซู่ (Üroborus Studiolab) มาถึงโรงเรียนเป็นครั้งแรก พวกเขาเล็งเห็นถึงความพิเศษของห้องเก็บของข้างๆ ห้องเรียนที่ค่อนข้างมืดและเต็มไปด้วยอุปกรณ์การสอนและของใช้จิปาถะ พวกเขารู้สึกว่าพื้นที่นั้นควรถูกปรับเปลี่ยนสำหรับเป็นสนามให้เด็กๆ ได้ใช้ทำการเล่นหรือการแสดง และมันเตือนให้พวกเขาระลึกถึงความรู้สึกตอนยกเก้าอี้ ผ้าห่มผืนเล็กวางพาด เพื่อสร้างฐานลับของเขาและเพื่อนๆในตอนเด็กและถูกนำมาใช้เป็นคอนเซปท์ในการออกแบบครั้งนี้

สภาพของโรงเรียนประถมเป่ยกัง ก่อนและหลังทำการรีโนเวท (ที่มา: Taiwan Design Research Institutute)

ทีมออกแบบกงซู่และคุณหงเฮ่าจุนได้ยึด “ฐานทัพลับของเด็ก” เป็นคอนเซปท์หลักในการออกแบบ โดยเริ่มจากการออกแบบแก้ไขส่วนหน้าต่างของห้องเก็บของซึ่งเดิมปิดอยู่ โดยทุบหน้าต่างทิ้งเพื่อให้พื้นที่การเรียนการสอนสามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วถึง และเพิ่มการจัดไฟในห้องเรียนที่เดิมมืดทึบ ให้กลายเป็นห้องที่สว่างน่าอยู่ เป็นเวทีสำหรับเด็กๆ ในส่วนของอุปกรณ์ช่วยสอนต่างๆ จะถูกเก็บลงไปในตู้เก็บของที่เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือจัดโต้ะในรูปแบบที่จะตอบสนองตามความต้องการของแต่ละวิชา

นอกจากนี้ ทีมออกแบบยังทำลายกระดานดำแบบเดิมๆ ที่เคยถูกใช้เป็นอุปกรณ์ของคุณครูฝ่ายเดียว แล้วสร้างกระดานดำใหม่จากกำแพงทั้งฝั่งทำให้กลายเป็นผนังกระดานดำแบบเต็มรูปแบบ เปรียบเป็นดั่งผืนผ้าใบให้เด็กๆได้ใช้สร้างภาพวาดตามจินตนาการอย่างไร้ขอบเขต

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ การออกแบบกระดานดำนี้ ยังถูกตั้งใจออกแบบมาทำให้ห้องเรียนกลายเป็นห้องที่สามารถทำการเรียนการสอนได้จากทุกทิศทาง ไม่ว่าจะสอนจากผนังกระดานทำหน้าห้อง หรือจากห้องกิจกรรมที่ถูกรีโนเวทใหม่หลังห้อง ซึ่งช่วยลดระยะห่างระหว่างเด็กและครูให้แคบลง และเด็กๆ ไม่กลัวที่จะออกมาที่กระดานดำเพื่อตอบคำถามและมีปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน ทำให้เด็กนักเรียนได้กลับมาเป็นศูนย์กลางการศึกษาอีกครั้ง  ด้วยเหตุดังกล่าวการออกแบบนี้จึงได้รับรางวัลการออกแบบที่ดีที่สุด ในงานประกาศรางวัล Golden Pin Design Award

สภาพของโรงเรียนประถมเป่ยกัง ก่อนและหลังทำการรีโนเวท (ที่มา: Taiwan Design Research Institutute)

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นไต้หวันหรือไทยก็ตาม ต่างมีปัญหาในระบบวัฒนธรรมข้าราชการ หรือข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ปัญหาซึ่งแม้จะถูกทำการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว แต่มักจะไม่ได้รับความใส่ใจเท่าที่ควร สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาจึงมักถูกแก้ไขโดยใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะจุดที่จำเป็น ไม่ใช่การแก้ไขเพื่อเด็กๆ ในระยะยาวอย่างแท้จริง  สิ่งที่สะท้อนออกมาคือทำให้นักเรียนซึมซับการศึกษาในแบบที่เน้นเพียงแค่การบรรลุผลลัพธ์ แต่จินตนาการ ความสร้างสรรค์ และสุนทรียภาพของเด็กๆ กลับถูกจำกัดภายใต้การเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าว

ในไต้หวันโครงการ ‘การออกแบบโรงเรียน เพื่อสร้างสุนทรียภาพ’ (學美.美學—校園美感設計實踐計畫) ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวันและถูกเผยแพร่ออกไปสู่สถาบันต่างๆ เมื่อสภาพแวดล้อมในสถาบันการศึกษาโดยรวมได้รับการวางแผนและจัดการอย่างเป็นระเบียบขั้นตอนที่ดี ก็จะแสดงออกมาได้ทั้งประโยชน์ใช้สอยและสุนทรียภาพ นอกจากนี้ยังมีการสร้างคู่มือแนะแนวการตกแต่งความสวยงามของสถาบันการศึกษา โดยโครงการดังกล่าวได้ถูกนำไปปฏิบัติจริงจนเสร็จสิ้นโครงการแล้วใน 9 โรงเรียน และวางแผนที่จะขยายต่อไปยังสถาบันการศึกษาอื่นๆ ต่อไป ซึ่งการออกแบบนี้ได้รับรางวัลหนึ่งใน 100 การออกแบบที่ดีที่สุดในงานรางวัล 2020 Good Design Award จากประเทศญี่ปุ่น

“การเรียนรู้ไม่มีเขตจำกัด – ตราบใดที่การเรียนรู้ในห้องเรียนไม่ถูกจำกัดแค่ที่ตัวคุณครูหรือกระดานดำ นักเรียนจะรู้สึกถึงอิสระในการศึกษาและตระหนักถึงสิ่งที่ตนต้องการได้” คุณหงเฮ่าจุนกล่าว ดังนั้นการออกแบบใหม่ของห้องเรียนในโรงเรียนประถมได้ปฏิรูปรูปแบบการศึกษาเดิมทั้งหมด โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถนำเสนอการออกแบบดังกล่าวให้แต่ละโรงเรียนผ่าน  2 มุมมอง คือการผสมผสานระหว่างการออกแบบเชิงพัฒนาสิ่งแวดล้อม และความสามารถในการคิดเชิงออกแบบ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในเชิงสุนทรียภาพ นอกจากนี้ยังทำให้โรงเรียนกลับมาเน้นในการพัฒนาระบบการศึกษาและเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาของนักเรียนอีกครั้ง