【Social Design】การออกแบบกับการเมือง: ดีไซน์ไต้หวันสามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งได้อย่างไร?

จำนวนโฆษณาและการโปรโมทของพรรคต่างๆในการเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในโซเชียลมีเดียและตามจุดต่างๆบนท้องถนน เหมือนกับเป็นการย้ำเตือนถึงวันเลือกตั้งของไทยที่เข้ามาใกล้ขึ้นทุกที ในด้านการเมือง ไต้หวันซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประวัติศาสตร์การเป็นประชาธิปไตยอย่างยาวนานในเอเชีย ได้ใช้วิธีการออกแบบเชิงสัญลักษณ์ในสาธารณะอย่างไรที่ช่วยในการส่งเสริมการส่วนร่วมในการเมืองของประชาชน?

การพัฒนาครั้งสำคัญด้านการออกแบบเชิงสัญลักษณ์ในการเมืองของแคนดิเดตนายกของไต้หวัน

ในไต้หวัน การเลือกตั้งระดับประธานาธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัดจะถูกจัดขึ้นในทุก ๆระยะเวลาสี่ปี โดยจัดสลับกันระหว่างสองการเลือกตั้งนี้ในทุกๆ สองปี  และจะมีการหาโปรโมทอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงระหว่างสามเดือนก่อนวันเลือกตั้ง ในช่วงนั้นการพบเจอป้ายหาเสียงหรือสื่อต่างๆ ที่ใช้โปรโมทบนถนนได้กลายเป็นเหมือนวิวข้างทางที่พบได้ทั่วไปในไต้หวัน ดังนั้นป้ายหาเสียงต่างๆก็เปรียบเสมือนเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ของแคนดิเดตในการเลือกตั้ง หากใช้สื่อหรือป้ายหาเสียงที่ออกแบบไม่ดีและขาดความสวยงาม นอกจากจะสื่อถึงความล้มเหลวในการสื่อสารจากผู้สมัครแล้ว ยังทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์หรือวิวในเมือง และอาจนำไปสู่การสูญเสียการสนับสนุนจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกด้วย

แนวโน้มการดีไซน์ของไต้หวันได้เริ่มเข้าสู่ช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงหลังจากมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 อันเป็นผลผลิตจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักเรียนในนนาม Sunflower Student Movement ที่ทำให้คนหันมาสนใจและเข้าใจความสำคัญของการเมืองมากยิ่งขึ้น

เดิมทีแล้วผู้สมัครเลือกตั้งในอดีตของไต้หวันมักใช้สีสันและเทมเพลทของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดในการออกแบบป้ายหรือสื่อหาเสียงต่างๆ แต่ในปี 2016 ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งได้สร้างปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่โดยละทิ้งรูปแบบเทมเพลทของพรรคเดิมๆ

จากด้านซ้าย เป็นสัญลักษณ์ของผู้ลงเลือกตั้งในปี 2016 จากพรรค People First Party, พรรค Kuomintang, และ Demcratic Progressive Party ตามลำดับ (ที่มา: เฟซบุ๊กผู้สมัคร)

ท่ามกลางพรรคต่างๆ การออกแบบของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (Democrat Progressive Party, DPP) ได้รับพูดถึงเป็นอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งการออกแบบดังกล่าวเป็นผลงานของ Aaron Nieh ดีไซเนอร์ชื่อดังผู้ได้รับรางวัลต่างๆจาก Golden Pin Design Award ในไต้หวันและเป็นยังมีสถานะเป็นสมาชิกสมาคมดีไซน์กราฟิกนานาชาติ (AGI) ทำให้การออกแบบในลักษณะมินิมอลลิสที่เขาใช้นั้นนำไต้หวันมาสู่จุดเปลี่ยนสำคัญในการพัฒนาการออกแบบเพื่อหาเสียงในไต้หวัน

ผลงานอื่นๆในเซ็ต ของ Arron nieh ที่ได้ดีไซน์โดยต่อยอดจากสัญลักษณ์ในการหาเสียงที่ออกแบบให้ Tsai Ing-Wen แคนดิเดตเลือกตั้งในไต้หวัน ปี 2016 (ผู้ออกแบบและที่มา: aaronniehworkshop)

ปรึกษานายกก่อนเลือกตั้ง: เลือกโหวตจากตัวพรรคการเมืองหรือนโยบาย?

ในระหว่างช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจนโยบายของผู้สมัครเลือกตั้งในด้านต่างๆ เช่น นโยบายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคงของชาติ และระบบเศรษฐกิจ บริษัท BlockStudio ได้สร้างฟังก์ชัน “ห้องแชทประธานาธิบดี” ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางสนทนาให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่างๆของแคนดิเดทต่อประชาชน โดยประชาชนที่เข้าใช้งานห้องแชทจะต้องเลือกผู้สมัครที่ตนสนับสนุนก่อน จากนั้นระบบจะนำเข้าสู่ระบบห้องแชทที่อธิบายนโยบายต่างๆในรูปแบบของไดอะล็อกที่ใช้สื่อสารทั่วไป จากนั้นสรุปผลออกมาเป็นพรรคที่มีนโยบายตรงกับที่ผู้ใช้งานชื่นชอบมากที่สุดโดยประมวลผลจากการสื่อสารและนโยบายที่ได้เลือกระหว่างสนทนาในห้องดังกล่าว วิธีที่ว่ามานี้นอกจากจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าใจและเลือกนโยบายที่ตนชื่นชอบได้แล้ว ยังทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่ตรงกับวิสัยทัศน์ของตนเองได้อย่างแท้จริงโดยมิได้ตัดสินใจจากแค่ตัวพรรคอย่างที่เคยทำมา

ห้องแชทประธานาธิบดี” ได้รับรางวัล Golden Pin Design Award สาขาการออกแบบด้านการสื่อสารในปี 2020 (ผู้ออกแบบและที่มา: Block Studio)

นอกจากนี้ บริษัท BlockStudio ยังได้รวบรวมผลงานการออกแบบทางการเมืองอันโดดเด่นที่มีทั้งสวยงามและมีคอนเซปท์ที่ชัดเจนในการออกแบบจากทั่วประเทศไต้หวัน โดยนำมาจัดเรียงและอธิบายถึงที่มาการออกแบบและคอนเซปท์ของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อถึงตัวผู้สมัครและนโยบายต่างๆให้ประชาชนได้เข้าใจ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของ “การออกแบบที่ดี” ที่จะช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของผู้สมัครได้

“ห้องแชทประธานาธิบดี” ที่ได้รับรางวัล Golden Pin Design Award สาขาการออกแบบด้านการสื่อสารในปี 2020 และการรวบรวมผลงานการออกแบบทางการเมืองอันโดดเด่น (ผู้ออกแบบและที่มา: Block Studio)

การส่งเสริมความเข้าใจในการเลือกตั้งด้วยการออกแบบคู่มือการเลือกตั้งใหม่

ในขณะที่ประชาชนให้ความสนใจต่อภาพลักษณ์ความสวยงามในการออกแบบ รัฐบาลเองก็เริ่มให้ความสำคัญในการช่วยให้ประชาชนเข้าใจข้อมูลที่สำคัญต่อการเลือกตั้งและข้อมูลของแคนดิเดตฝ่ายต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนที่จะต้องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งจะเป็นการสิ้นสุดของกิจกรรมการถกเถียงทางการเมืองต่างๆ และนำพาประเทศไปสู่อนาคตที่มาจากการออกเสียงและการตัดสินใจของประชาชนด้วยกันเอง

ทั้งนี้ ก่อนการเลือกตั้งในไต้หวัน ประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงจะได้รับคู่มือการเลือกตั้งจากรัฐบาล ซึ่งประกอบไปด้วยความคิดเห็นทางการเมืองของผู้สมัครเลือกตั้ง ข้อดีและข้อเสียจากการลงประชามติเบื้องต้น และข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการลงคะแนนเสียง ซึ่งคู่มือดังกล่าวเดิมที มีขนาดและลักษณะคล้ายกับหนังสือพิมพ์ ที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาและตัวอักษรซึ่งยากต่อการอ่านและทำความเข้าใจ ทำให้ประชาชนยังอาจสับสนต่อกระบวนการต่างๆ แม้จะได้รับคู่มือดังกล่าวไปแล้วก็ตาม

ดังนั้น คณะกรรมการเลือกตั้งและสถาบันวิจัยดีไซน์ไต้หวัน (Taiwan Design Research Institute, TDRI) จึงได้ร่วมมือกันออกแบบคู่มือดังกล่าวขึ้นใหม่ในปี 2021 ภายใต้ข้อจำกัดจากกฎเดิมคือต้องใช้สีแดงและดำเท่านั้นในการบรรยายข้อความจำนวนมาก โดยในคู่มือรูปแบบใหม่นี้ พวกเขาได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอ่านซึ่งเดิมทีอ่านจาก ซ้ายไปขวาและบนลงล่าง เปลี่ยนเป็นการจัดวางตัวอักษรในลักษณะหลายๆคอลัมน์เพื่อลดจำนวนคำต่อบรรทัด และไฮไลท์หัวข้อเป็นสีแดงเพื่อให้ง่ายต่อการแยกแยะ ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเลือกอ่านแต่ละหัวข้อได้แม้จะไม่ได้กางแผ่นพับออกมาดูโดยละเอียด

“คู่มือเลือกตั้งใหม่” ได้รับรางวัล Golden Pin Design ยอดเยี่ยม และรางวัลพิเศษ (Social Design) แห่งปี 2022 (ผู้ออกแบบ: 平面室 graphic room, Re-lab; ที่มา: TDRI)

นอกจากนี้ คู่มือที่ถูกออกแบบใหม่ยังได้เพิ่มแผนภาพขั้นตอนกระบวนการเลือกตั้งเข้าไป ซึ่งเป็นการออกแบบผ่านมุมมองผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยแนะนำวิธีเลือกตั้งโดยละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนเมื่อเดินทางไปถึงหน่วยเลือกตั้งจนจบกระบวนการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนเข้าใจได้ง่ายขึ้นและช่วยประหยัดเวลาเมื่อถึงวันเลือกตั้งจริง

“คู่มือเลือกตั้งใหม่” ได้รับรางวัล Golden Pin Design ยอดเยี่ยม และรางวัลพิเศษ (Social Design) แห่งปี 2022 (ผู้ออกแบบ: 平面室 graphic room, Re-lab; ที่มา: TDRI)

การเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระบวนการพัฒนาของประเทศที่อาจมิได้ได้มาอย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม อนาคตที่เราต้องการเห็นก็สามารถถูกกำหนดได้ด้วยบัตรเลือกตั้งในมือของเรา

เมื่อเราพิจารณาบทบาทของการออกแบบกับการเลือกตั้งแล้ว จะพบว่าการออกแบบไม่ได้มีบทบาทแค่ในป้ายหรือสื่อที่ใช้ในการหาเสียงเพื่อดึงดูดประชาชนให้มีส่วนร่วมทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยแสดงถึงคุณค่าของประเทศโดยรวมในเวทีสากลและสามารถทำให้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศอื่นๆ ได้อีกด้วย