การออกแบบ wanghsientzu  

ออกแบบของใช้ส่วนบุคคลจนถึงภาคสังคม ในการพาสู้โควิด-19

การระบาดของโควิดส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตเราทุกคน แต่เราจะสามารถอยู่ร่วมกับการระบาดครั้งนี้ได้อย่างไร โดยพึงใช้อิทธิพลจากการออกแบบมาประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ  เพื่อสร้างสรรค์มาตรการควบคุมภัยพิบัติจากโรคระบาดครั้งนี้ ร่วมหาทางออกแก้ปัญหาเพื่อผ่านวิกฤตและเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบการบริการสาธารณสุขในสังคม

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้ ไต้หวันตกอยู่ในวิกฤตกับการระบาดกระลอกใหม่ครั้งที่สองของโควิด-19 ต้องเผชิญอยู่กับมาตรการล็อกดาวน์เมือง กับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากระยะไกลนานนับถึงสองเดือน เหล่านักออกแบบในไต้หวันจึงได้ทำการออกแบบกระเป๋าถุงมือป้องกันการระบาด หอพักผู้ป่วยระบบอัจฉริยะ จนไปถึงการได้ย้อนกลับไปแก้ไขวางแผนครั้งใหม่เกี่ยวกับระบบการแพทย์พื้นฐาน ที่ทุกคนจำเป็นต้องคลุกคลีอยู่ร่วมด้วยอย่างเป็นประจำ

กระเป๋าถุงมือกันโรคระบาด

“ ภายหลังจากเกิดการระบาดของโควิด การจับสัมผัสสิ่งของกลายเป็นเรื่องที่จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ”

Pieces of Jades

เริ่มด้วยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น, การจับมือคนในครอบครัวและคนรัก จนรวมไปถึงการสำรวจแวดล้อมภายนอกผ่านการสัมผัสสิ่งรอบข้างของนักออกแบบเหล่านี้ ล้วนแต่ถูกจำกัดไว้ในยามที่ตกอยู่กับความเสี่ยงภัยต่อการเผชิญกับเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถรับรู้จากการมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ภาพร่างของการออกแบบ ( ภาพจาก: Pieces of jade)

นอกจากถุงมือเพียวอย่างเดียวคงยังไม่พอ แล้วถ้าหากจับมาคู่กับกระเป๋าถุงผ้าที่จะใช้ในการออกไปซื้อสินค้าอยู่เป็นประจำหล่ะ ? 

Pieces of jade ได้ออกแบบถุงมือสวมถอดได้ในมือเดียวมาไว้อยู่ข้างกระเป๋า ฟังดูผ่าน ๆ อาจนึกขบขันกับการออกแบบที่คล้ายกับลักษณะถุงมือโดราเอม่อน หรืออาจใกล้เคียงกับถุงมือผ้าที่คุณแม่ไว้อยู่ในครัว สไตล์การออกแบบได้สร้างอารมณ์ขันให้คนได้ แต่ก็ยังสามารถใช้ถุงมือนี้ลดอัตราความเสี่ยงติดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากการสัมผัสได้ดีอีกด้วย

นอกจากจะได้ทำการแก้พัฒนาคุณสมบัติของถุงมือที่จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างช่วยในการสวมถอดแล้ว  ยังได้นำขวดพลาสติ รีไซเคิลมาเป็นเนื้อผ้าชีฟองเนื้อทราย ที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้เล็กน้อยและทนต่อการฆ่าเชื้อจากแอลกอฮอล์ พูดถึงชั้นนอกของถุงมือนั้น หากผ่านช่วงโควิดไปก็ยังสามารถทำมาเป็นช่องแบ่งแยกที่อยู่ในถุงกระเป๋าได้อีกด้วย

“การป้องกันที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งขั้นถึงไม่ได้เป็นการแก้ปัญหากับตัวโควิดระบาดโดยตรง แต่หากในความรู้สึก มันเปรียบเหมือนได้ลดการแบ่งแยกตนกับโลกภายนอกให้ลงไปอีกขั้น”

Pieces of jade

การออกแบบที่มองดูเรียบง่าย ความจริงแล้วล้วนเป็นรายละเอียดที่อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ เมื่อยามจำเป็นต้องเกิดการ “สัมผัส” ในยามขึ้นตึกลิฟต์, เดินซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต, เปิดประตูคอนโด ได้เพิ่มความสบายใจเพราะมีการป้องกันระหว่างการทำกิจกรรมเหล่านี้

กระเป๋าถุงมือกันการระบาดได้รางวัลการรับเลือกจาก Golden Pin Design Award ในปี 2021 ( ภาพจาก  : Pieces of jade)

MAC ward

การระบาดของโควิด-19 นอกจากจะเพิ่มข้อจำกัดให้กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันแล้ว ก็ยังเป็นบททดสอบสำหรับระบบการแพทย์การบริหารสาธารณสุขในประเทศอีกด้วย ภายในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือในประเทศไทยนั้นจำนวนคนติดเชื้อโควิดยังคงเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่กลับไม่มีห้องพักผู้ป่วยและการจัดหาทรัพยากรทางการแพทย์ที่เพียงพอต่อการเข้ารักษาได้ หากเป็นเช่นนี้แล้ว, ห้องพักป่วยระบบดิจิตอลที่สามารถจัดประกอบขึ้นได้ใน 48 ชั่วโมงอย่าง MAC Ward คงจะเป็นคำตอบให้กับโจทย์ข้อนี้ได้

ภายในห้องพักผู้ป่วย MAC Ward ( ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute )

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาห้องแยกโรคล้วนมีการจัดสร้างโครงสร้างที่ซับซ้อน และการบูรณาการองค์ประกอบมีลักษณะเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ยามที่ต้องเผชิญอยู่กับสภาวะภัยวิกฤตการแพร่ระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นที่จะต้องจัดสรรองค์ประกอบเพื่อส่งให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการต่อทรัพยากรทางการแพทย์มากกว่าแล้วนั้น คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดาย

ห้องพักป่วยระบบดิจิตอล MAC Ward มีโครงสร้างการออกแบบที่คำนึงถึงคุณสมบัติเด่นสามข้อด้วยกันดังนี้ คือโมดูลาร์ดีไซน์ (Modular) การออกแบบที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา (Adaptable) และคุณสมบัติที่ยืดหยุนในการดัดแปลงฟังก์ชัน ( Convertible) ใช้วัสดุที่สะดวกคล่องและไวต่อการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย นำชิ้นส่วนองค์ประกอบต่าง ๆ ของห้องพักป่วยออกแบบเป็นโมดูลาร์ดีไซน์ในการประกอบเป็นโครงสร้างหนึ่งเดียว  เพิ่มความรวดเร็วในการถอดชิ้นส่วนประกอบออกจากกัน และประกอบเข้าได้ภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในการทำงาน ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถจัดสรรฟังก์ชันได้ตามสถานการณ์ จัดสร้างห้องพักผู้ป่วยธรรมดาให้รวดเร็วในการดัดแปลงเป็นห้องพักป่วยที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทั้งในการกักตัว เป็นห้องแยกโรคความดันลบและห้องดูแลผู้ป่วยหนักได้

โครงสร้างห้องพักผู้ป่วย MAC Ward ( ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute )
ภายในห้องพักป่วยมีระบบทำความสะอาดด้วยรังสียูวีอัตโนมัติและวัสดุกำแพงปิดกั้นเชื้อแบคทีเรียรีไซเคิลได้ ( ภาพจาก : MINIWIZ )

ภายใต้ช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรคโควิด ศูนย์การออกแบบไต้หวัน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคาทอลิก Fu Jen และกลุ่มวิจัย MINIWIZ ได้ประสานงานงานร่วมกันเป็นทีม บูรณาการระบบทางการแพทย์และผลิตบริภัณฑ์ โดยนอกจากผลผลิตหน้ากากอนามัยแล้ว นี่เป็นผลความสำเร็จอีกหนึ่งของผลการควบคุมโรคระบาดครั้งนี้

MAC Ward ได้รับรางวัลรับเลือกจาก Golden Pin Design Award , Good Design Award,  iF Product Design Award ( ภาพจาก  : Golden Pin Design Award)

 การออกแบบศูนย์บริการสาธารณสุข

ความต้องการทางการแพทย์มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์โควิด กระนั้นแล้วก็ยังมีความจำในการย้อนกลับมาพิจารณาระบบศูนย์บริการสาธารณสุขพื้นฐานในประเทศ ได้มีการออกแบบและการวางแผนจัดสรรทรัพยากรใหม่ เพื่อเกื้อหนุนโอกาสในการเพิ่มความมั่นใจของมวลชนที่มีต่อระบอบการบริการสาธารณสุขในสังคม ผลักดันประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์  และส่งเสริมให้รับมือกับสภาวะภัยวิกฤตอันผันผวนที่ไม่อาจคาดเดาน์ในอนาคตของโควิดได้อย่าง และจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ตามความต้องการได้ 

หากกล่าวถึงศูนย์บริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ตัว ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือไต้หวัน ผู้คนคงจะมีภาพจำเดิม ๆ ที่ถูกประทับไว้ต่อสถานที่แห่งนี้ไว้ว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศมืดครึ้ม สภาพทรุดโทรมและไม่อยากอยู่เป็นเวลานาน

ก่อนและหลังการปรับเปลี่ยน  ( ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

ในปีนี้ไต้หวันได้มีหน่วยงานรัฐบาลแสดงถึงแนวทางการพัฒนาการออกแบบบริการ โดยนำศูนย์บริการสาธารณสุขสองแห่งเป็นการเร่ิมต้น เพื่อทำการวางแพลนจัดการกับสื่อเนื้อหาสุขศึกษาที่ติดอยู่ตามศูนย์การบริการสาธารณสุขอันมีเนื้อหาที่บานแบะ และถึงจะมีข้อมูลที่ล้นเหลือแต่ก็ยังต้องคอยพึงการชี้นำจากบุคลากรในการรับข้อมูลข่าวสาร หลังผ่านการจัดวางแผนศูนย์การบริการเหล่านี้ แพลนออกแบบบูรณะเนื้อหาข้อมูลใหม่ จัดสรรพื้นที่นี้ให้มีความยือหยุ่นในการปรับแก้ข้อมูลให้แปรคู่ไปกับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงได้ (อาทิเช่น ฤดูไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ)  

ในปัจจุบันได้การบูรณาการสร้างอัตลักษณ์ผ่านทางภาพในพื้นที่ โดยครอบคลุมการประยุกต์ใช้ฟ้อนต์ตัวอักษรและ icon เฉพาะเป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียว อีกทั้งอาศัยทฤษฎีการเชื่อมโยงมโนภาพทำการจัดแบ่งระดับความสูงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ตามระดับความสำคัญในทิวทัศน์การเห็น นำข้อมูลเนื้อหาสุขศึกษาที่เหลือขึ้นฉายบนจอทีวี  นอกจากนี้แล้ว เพราะต้องคำนึงถึงการแปรเปลี่ยนของฝูงชนที่เข้ามายังศูนย์บริการเหล่านี้ตามแต่ละฤดูกาลนั้นแล้ว ยังได้ทำการบูรณะสัญลักษณ์ชี้แนะเป็นรูปแบบป้ายแขวนห้อยแทน เพื่ออำนวยให้มีความยืดหยุ่นในการใช้สอยพื้นที่ภายใน (เช่น ช่วงเช้าพื้นที่ห้องที่จัดเป็นห้องให้คำปรึกษา หลังเปลี่ยนป้ายสัญลักษณ์ที่ขึ้นห้อยแล้ว ในช่วงเย็นจะถูกจัดเปลี่ยนป็นพื้นที่อบรมสุขศึกษาได้)

ระบบสัญลักษณ์ชี้นำและป้ายสัญญาณแนะนำการใช้งาน (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

ใช้หลอดไฟขาวโทนอุ่นทั้งหมดในการจัดวางพื้นที่ภายใน เพื่อเหลือพื้นที่ปลอดโปร่งทางทิวทัศน์เพิ่มขึ้นเพื่อถนอมสายตา อีกทั้งยังช่วยลดอาการประหม่าก่อนการพบตรวจให้น้อยลงได้

ในการจัดวางป้ายการชี้แนะขั้นตอนการเข้าตรวจนั้น ได้ใช้สีเอิร์ธโทนในการจัดแบ่งพื้นที่ออกมาให้เป็นจุดพักคอย ห้องตรวจ ห้องสุขศึกษา และห้องให้คำปรึกษา จากการกำหนดค่าพื้นที่ภายในทั้งหมด

ก่อนและหลังการปรับเปลี่ยน  ( ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute )

ศูนย์บริการสาธารณสุขได้ดัดแปลงวางแผนใหม่พื้นที่เดิมที่มีอยู่ ทั้งได้บูรณะพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดในศูนย์บริการ และประยุกต์ใช้การนำทางการเคลื่อนไหวทางสายตาผ่านทิวทัศน์อยู่ในองค์ประกอบ โดยตอนท้ายจะอาศัยวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินงานนี้มาเป็นการชี้แนะ ให้เป็นแนวทางที่ทยอยขยายการดูแลสู่ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งอื่นในไต้หวัน 

การออกแบบไม่เพียงแต่จะเกี่ยวกับการจัดสรรพื้นที่และบรรจุภัณฑ์สินค้าเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นคือได้เสนอแนวทางในการแก้ใข ให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์หลังใช้งานที่รู้สึกสะดวกสบายได้ แพทย์จากศูนย์บริการสาธารณสุขได้กล่าวว่า …

“ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองในช่วงอายุไหน ล้วนแต่จะได้รับความสะดวกสบายเมื่อได้เข้ารับบริการจากที่นี้”

การออกแบบศูนย์บริการสธารณสุขได้รับรางวัล Golden Pin Design Award 2021  (ภาพจาก : Golden Pin Design Award)

ภัยวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิดจะยังคงเป็นสงครามในระยะยาว ด้วยเหตุนี้เราไม่เพียงแต่จะต้องกระทำเพียงการป้องกันขั้นพื้นฐานในระดับบุคคลให้ดี อีกทั้งยังคงต้องใช้ผลิตผลจากการประสานงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกัน บวกกับการอาศัยอิทธิพลจากการออกแบบในการเข้าแทรก พานำความหวังมาให้กับปวงประชาชนภายใต้ภัยพิบัติจากโรคระบาดโควิด-19 ได้ อนึ่ง ได้กระชับความเชื่อมั่นที่มุ่งหวังต่อตน ดั่งเช่นคติที่ไต้หวันได้ตั้งมั่นไว้  “Taiwan can help, and Design can help”