การออกแบบเข้ามามีบทบาทอย่างไรกับสภาพแวดล้อมสถานบริการสุขภาพ ? —— Public health Center Re-design

หากไม่มีการระบาดของโควิดในครั้งนี้ นอกจากภาพโรงพยาบาลและคลินิกที่เห็นได้ตามในสื่อข่าวแล้ว คุณได้ให้ความสนใจกับสถานที่ทางการแพทย์รอบตัวคุณอยู่รึเปล่า ? 

คุณอาจมีข้อเลือกอย่าง “ศูนย์บริการสาธารณสุข” ผุดเข้ามาในหัวอยู่บ้าง สถานที่ที่มีสภาพการใช้งานมานานและชำรุดทรุดโทรม กับบรรยากาศที่มืดครึ้ม ยามจะเข้าใช้งานก็เต็มไปด้วยผู้คนที่เยียดยัดอัดแอ หากแต่เมื่อเกิดการการระบาดของโควิด สถานที่นี้กลับต้องแบกรับหน้าที่สำคัญอย่างการจัดสรรการฉีดวัคซีน ด้วยเหตุนี้แล้ว, ในไต้หวันจะมีการบูรณาการศูนย์บริการสาธารณสุขอย่างไรให้เกิดการจัดแจงพื้นที่บรรจุประโยชน์การใช้งานให้ได้อย่างสมบูรณ์, จัดหาข้อมูลในการรับมือกับโควิด-19, ตั้งรับฝูงชนเข้าฉีดวัคซีน อีกทั้งยังคาดหวังให้ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบทางการแพทย์พื้นฐานได้ ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นนับว่าเป็นหัวข้อที่รัฐบาลจะต้องเผชิญในสถานการณ์โควิดครั้งนี้

ก่อนและหลังการปรับปรุงทางเข้าศูนย์บริการสาธารณสุข (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

ศูนย์การบริการสาธารณสุขหน่วยตำบล หากเทียบกับเครือโรงพยาบาลขนาดใหญ่แล้ว ยังขาดภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกันในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้ได้ นี้อาจเกิดจาก เนื้อหาสุขศึกษาที่เอ่อล้นแปะอยู่ตามบอร์ดประกาศและฝาผนังตรงบริเวณจุดพักคอย, เฉดสีหลักโทนของเก้าอี้ที่พักและจุดเคาน์เตอร์ ที่อาจส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าทางทิวทัศน์สายตา บวกกับวิธีการจัดวางตำแหน่งของป้ายชี้แนะและสัญลักษณ์ตามบริเวณต่าง ๆ  ที่สร้างความงุนงงให้กับผู้ใช้งาน กระนั้นแล้ว,  Taiwan Design Research Institute ได้มีการนำทีมทำวิจัยการออกแบบบริการศูนย์อนามัยทางการแพทย์ ติดต่อเชิญชวนทีมงานการออกแบบภาพอย่าง  “S.Select Lab” และทีมออกแบบจัดสรรพื้นที่ โดยนำศูนย์บริการอนามัยเมืองซินเป่ย์เป็นศูนย์สาธิตสองแห่งแรกในการปฏิบัติ เริ่มบูรณาการพื้นที่สาธารณสุขกับการออกแบบจินตภาพภาพลักษณ์ของพื้นที่สาธารณสุขภาพ ตามเงื่อนไขเดิมของศูนย์บริการที่มีอยู่ การออกแบบพื้นที่สาธารณะครั้งนี้ได้รับรางวัลชนะเริศด้านการออกแบบเพื่อสังคม จาก Golden Pin Design Award ในปี 2021

ก่อนและหลังการปรับเปลี่ยนพื้นที่สภาพแวดล้อมและสื่อเนื้อหาสุขศึกษา (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

ในเริ่มแรก คือการนำบอร์ดติดประกาศและเนื้อหาข้อมูลสุขศึกษาตามฝาผนังรวบรัดมาขึ้นฉายอยู่ในจอทีวี ปรับทาสีกำแพงให้เป็นสีขาวโทนอุ่น เข้าคู่กับกลุ่มสีเอิร์ธโทนนอย่างสีครีม เทา และสีกากี ฯลฯ ในการปูพื้น และเป็นสีในการตกแต่งจัดวางเครื่องเฟอร์นิเจอร์ภายใน ลดความกดดันจินตภาพจากทิวทัศน์สายตาในเนื้อที่ ทั้งนี้ ยังทำให้พื้นที่ภายในดูกว้างขึ้นอีกด้วย

หากเทียบกับโรงพยาบาลในเครือต่าง ๆ ที่มีอัตลักษณ์ทางองค์กรที่เด่นชัดแล้ว เมื่อผู้คนนึกถึงศูนย์การบริการสาธารณสุขจะไม่มีรอยประทับอะไรมากมายนัก จึงละเลยไปว่าสถานที่นี้ แท้จริงแล้วมีความเพรียบพร้อมด้านเวชศาสตร์ป้องกันทางการแพทย์, การบริการดูแลสุขภาพ, แหล่งพักฟื้นผู้สูงอายุ อีกทั้งยังมีหน้าที่จัดหาเนื้อหาทางสุขศึกษาอีกด้วย และการใช้สีเอิร์ธโทนในการครอบคลุมภาพทิวทัศน์ทั้งหมดเพื่อประสงค์ให้เป็นตราภาพลักษณ์ใหม่ให้กับศูนย์อนามัย

ฟ้อนต์ตัวอักษรกับโทนสีทางระบบสายตาที่สอดคล้องกัน (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

ไม่เพียงแต่เท่านี้ ในห้องตรวจยังได้ปรับเปลี่ยนป้ายสัญลักษณ์ให้ง่ายต่อการรื้อถอน พร้อมติดตั้งป้ายสัญลักษณ์แบบแขวนห้อยเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นกับพื้นที่ใช้สร้อย ตอบสนองความต้องการของการเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือตามระดับการเข้าใช้พื้นที่ของฝูงชน อาทิเช่นช่วงเช้าเป็นพื้นที่ห้องตรวจ เมื่อเปลี่ยนป้ายสัญลักษณ์แล้วจะถูกปรับใช้งานเป็นพื้นที่ฉีดวัคซีนในช่วงเย็นได้

ป้ายสัญลักษณ์และระบบสัญญะ (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

ในการวางแผนผังเส้นนำทางการเคลื่อนไหว ได้ออกแบบ icon มาเป็นสัญลักษณ์เฉพาะ ทั้งนี้ ยังได้อาศัยการแบ่งชั้นจากระดับความสูงเพื่อจัดเรียงรูปแบบป้ายต่าง ๆ อาทิเช่น ป้ายเครื่องหมายระบุ “ตำแหน่ง” ในการนำทางไปยังบริเวณต่าง ๆ ถูกตั้งไว้บนที่สูง และป้ายที่ระบุ “ จุดที่ตั้ง” จัดให้อยู่ตำ่ลง ชี้ทางบริเวณห้องเข้าตรวจและห้องฉีดยาได้อย่างชัดเจน ซึ่งเทียบกับป้ายชี้แนะยุ่งเหยิงที่ผ่านมาแล้ว ผู้ใช้งานยังต้องติดต่อสอบถามกับเคาน์เตอร์บริการ เมื่อผ่านการออกแบบโดยใช้การเชื่องโยงมโนภาพในการจัดแบ่งระดับความสูงของระบบการชี้แนะแล้ว ได้ลดความสับสนวุ่นวายให้กับผู้เข้าใช้ ซึ่งยังสามารถถูกนำทางตนให้ไปยังห้องตรวจหมายทางได้

ก่อนและหลังการปรับปรุงเนื้อที่ศูนย์บริการสาธารณสุข (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

ในการวางแผนเชิงพื้นที่ โดยทั่วไปภายในศูนย์อนามัยมีการวางแผนพื้นที่ในการปฏิบัติงานอยู่มากมาย หากแต่ไม่ได้เป็นมิตรต่อผังการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานจำเป็นต้องไปยังบริเวณต่าง ๆ เพื่อต่อบัตรคิว กรอกข้อมูลเอกสาร ลงทะเบียน และเข้าตรวจตามขั้นตอน ซึ่งส่งผลให้บริเวณที่ตั้งเฉพาะจุดนั้น ๆ สะสมพอกพูนผู้คนมากมายที่หยุดรอ แต่ในบางบริเวณกลับไม่มีผู้คน ด้วยประการนี้ ทีมงานออกแบบได้สำรวจกระบวนการให้บริการบริเวณทั้งหมดในศูนย์อนามัย ตามผลการสำรวจ จัดวางเคาน์เตอร์ลงทะเบียนเข้ายังข้างใน ให้ฝูงชนหยิบบัตรคิวผ่านเคาน์เตอร์บริการในยามแรก ตามด้วยการกรอกข้อมูลเอกสาร ผังการเคลื่อนไหวของจุดลงทะเบียนนำมาซึ่งเส้นทางการเคลื่อนไหวทางเข้าศูนย์บริการที่ชัดแจ้ง

นอกจากนี้ จากการสำรวจผู้ใช้งานศูนย์การบริการสาธารณสุข ได้จัดผู้เข้าใช้ออกเป็นสองกลุ่มหลัก โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุกับกลุ่มผู้ปกครองและเด็ก นำบริเวณที่จัดบริการให้กับกลุ่มผู้สูงอายุย้ายออกมาด้านนอก และนำห้องตรวจเด็ก ห้องให้น้ำนมลูก และห้องนั่งเล่นที่เป็นพื้นที่สำหรับห้องเด็กและผู้ปกครองให้ย้ายไปยังเนื้อที่ด้านในของศูนย์การบริการ เพื่อไม่ให้ผังการเคลื่อนไหวทับโยงกัน เพิ่มเติมจากนี้แล้ว เครื่องติดตั้งภายในศูนย์การบริการได้ใช้การออกแบบที่เป็นมิตรต่อผู้สู้อายุ เช่นการนำเคาน์เตอร์บริการที่กลุ่มคนชรางานได้ใช้งานเคลื่อนออกข้างนอก ลดเวลาในการเดินหาและไม่จำเป็นที่ได้เดินไกลก็ถึงที่หมาย ทั้งนี้, ยังได้ปรับระดับความสูงเคาน์เตอร์ให้เป็นแอมพลิจูดที่เป็นมิตรต่อกลุ่มคนชรา 

ก่อนและหลังการปรับปรุงเคาน์เตอร์ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข (ภาพจาก : Golden Pin Design Award)

ถัดมาอีกประการหนึ่ง ในการออกแบบภาพการมองเห็น และเส้นทางการเคลื่อนไหวกับการวางแผนพื้นที่ภายในนั้น ได้ใช้เครื่องเฟอร์นิเจอร์ภายในก็เลือกวัสดุและสีให้สอดคล้องกันอย่างมากที่สุด ได้ให้ความสำคัญกับฟังก์ชันอย่างโมดูลาร์ดีไซน์ การประกอบชิ้นส่วนที่สะดวกต่อการถอดถอน สิ่งเหล่านี้ที่ช่วยในการแบ่งแยกบริเวณพื้นที่และสะดวกต่อการโยกย้ายเพื่อนำไปใช้ในยังศูนย์การบริการอื่นได้

การออกแบบไม่ได้เป็นเพียงแต่เพื่อการภาชนะบรรจุสินค้าและบริหารพื้นที่ มากกว่านั้นคือการได้จัดสรรให้ผู้ใช้ได้รู้สึกถึงความสะดวกสบายจากการใช้งาน ให้ผู้ใช้ได้ต่อประสานกับแนวทางการแก้ไขผ่านแนวคิดการออกแบบและเกิดการยอมรับ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผลการออกแบบครั้งนี้

แพทย์จากศูนย์อนามัยได้กล่าวว่า “เราคาดหวังไว้ให้พลเมืองไม่ว่าจะโดยช่วงอายุไหน ล้วนแต่จะได้รับความสะดวกสบายเมื่อได้เข้ารับบริการจากทีนี้”

คู่มือแนวทางระบบสัญญะ และโทนสีพื้นที่ภายในของศูนย์บริการสาธารณสุข  (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)
คู่มือแนวทางการออกแบบฟอนต์ในศูนย์บริการสาธารณสุข  (ภาพจาก : Taiwan Design Research Institute)

หลังผ่านการออกแบบบูรณาการศูนย์บริการสาธารณสุข นำแนวทางแนะนำ และการจัดแผนผังพื้นที่แบบส่วนจำเพาะจากผลลัพธ์ของการออกแบบครั้งนี้มา ส่งเสริมต่อยอดไปยังศูนย์การบริการอื่น ๆ ทั้งนี้, สร้างความประทับใจโดยรวมที่มวลชนมีต่อศูนย์การบริการสาธรณสุข เพิ่มความน่าเชื่อถือ และให้มวลชนซึ่งไม่ปรารถนากับการเข้ารับบริการทางการแพทย์ แปลงมาเป็นฝ่ายที่ริเริ่มเข้ามาติดต่อใช้งานกับศูนย์การบริการ