การออกแบบเพื่อเพรียกหาช่องทางออก ให้กับกลุ่มแรงงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้—— จากโครงการ “Book & Host” ไต้หวัน
“ฉันไม่เคยไปต่างประเทศเลย การมาเยือนไต้หวันถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ออกนอกประเทศหลังจบการศึกษามัธยมปลาย ตอนแรกที่มาถึงไต้หวันฉันพูดภาษาจีนไม่เป็น และไม่มีแม้แต่เพื่อนไต้หวันสักคน มันเลยเกิดความรู้สึกเหงา แล้วก็คิดถึงบ้าน” นี่ไม่ใช่ปัญหาของการมาเรียนต่อต่างประเทศ แต่นี่เป็นอุปสรรคและความกังวลที่ได้เกิดขึ้นกับแรงงานต่างชาติภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศไต้หวัน
ถ้าหากว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งที่สามารถสอนให้เขาได้เรียนรู้พื้นฐานภาษาจีนได้ เปิดช่องทางให้เขาได้อยู่กับกลุ่มชุมชน และให้เขารู้สึกว่าตนได้รับการสนับสนุน, หากเป็นเช่นนี้แล้วเส้นทางการออกไปทำงานยังต่างแดนครั้งนี้ของเขานั้น จะมีโอกาสได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างจากการเดินทางครั้งนี้ได้หรือเปล่า ?
ในทุก ๆ ปี จะมีประชากรแรงงานต่างชาตินับหมื่นจำนวนจากประเทศกัมพูชา, เมียนมาร์, ลาว, เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ที่ทยอยเข้ามาทำงานเป็นแรงงานต่างชาติในประเทศไทย พวกเขาดำเนินงานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง, เกษตรกรรม, สัตวบาล และงานบริการตำแหน่งแรงงานประเภทที่คนไทยอาจไม่อยากทำ
จากข้อมูลสถิติที่สะสมถึงปัจจุบันล่าสุด ใน 4 ประเทศนี้มีจำนวนประชากรเกิน 1,500,000 คนได้ทำงานอยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปัญหาการนำเข้าแรงงานต่างชาติไม่เพียงแต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตสูง ทั้งนี้ ยังเป็นปัญหาที่ประเทศไต้หวันกำลังเผชิญอยู่ด้วย
ในยุคปัจจุบัน ไต้หวันเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมที่มีภาวะอัตราการเกิดลดลดและสังคมผู้สูงอายุ นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรแรงงานในประเทศ ประชากรทุก 40 จำนวนจะมีหนึ่งคนที่สุ่มมาจากประเทศอินโดนีเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ไทยหรือเป็นแรงงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในไต้หวัน One-forty ได้สำรวจเห็นว่าแรงงานต่างชาติส่วนใหญ่ที่พึ่งได้เดินทางมาถึงไต้หวันในตอนแรกนั้น ล้วนได้เกิดความขัดแย้งกับนายจ้างในระหว่างการทำงานอยู่เป็นประจำ จนไปถึงการถูกคนในสังคมเลือกปฏิบัติในระยะยาว ด้วยเหตุอันเนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษาที่ยังไม่คล่อง และความไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรม นอกจากนี้, แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพแรงงาน อาทิเช่นผู้ช่วยแม่บ้าน พยาบาลดูแล หรืออุตสาหกรรมงานก่อสร้าง การผลิตและอุตสาหกรรมประมงนอกชายฝั่ง
จากข้อมูลสถิติทางกระทรวงแรงงาน พยาบาลดูแลแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้หยุดงานหรือได้หยุดเพียงส่วนหนึ่งแม้อยู่ในวันหยุดนั้น มีมากถึงร้อยละ 88.6% ทำให้หาโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ได้ยาก หากกลับประเทศไปก็อาจจะติดอยู่ในสถานะความยากจนเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องด้วยเหตุนี้ในไต้หวันจึงมีคนกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งองค์กร One-Forty ขึ้นมาในปี 2015 และได้จัดสร้างโครงการ “Book & Host” ในปีที่แล้ว เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่อยู่ตามถิ่นต่าง ๆ ในไต้หวันสามารถหลวมตัวเข้าให้คุ้นชินไปกับการใช้ชีวิตในไต้หวันได้ โดยเริ่มจากการเรียนรู้ภาษาจีน
“ให้การเดินทางในไต้หวัน กลายเป็นช่วงความทรงจำที่มีคุณค่าอยู่บนเส้นทางชีวิต”
One-Forty
(Make Every Migrant’s Journey Worthy and Inspiring)”
“Book & Host” คือสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนโครงการแรกที่มุ่งเน้นความต้องการของแรงงานต่างชาติเป็นจุดประสงค์หลัก มีทั้งหนังสือเรียนภาษาจีนและคาบเรียนวีดีโอออนไลน์ เปิดโครงการรวมระดมทุน เรียนหาเสียงคนไต้หวันให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยกัน นำสื่อการเรียนการสอนส่งมอบให้แก่แรงงานต่างชาติที่อยู่ในทั่วทุกมุมไต้หวัน
ภายในสื่อการเรียนนี้ได้จัดให้ภาษาอินโดฯ ที่มีอัตราการใช้มากที่สุดในกลุ่มแรงงานต่างชาติไต้หวันมาเป็นเนื้อหาหลัก และได้นำหัวข้อเนื้อหาที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันแบ่งออกเป็น 35 หน่วยการเรียนรู้ เช่นการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ, ออกไปซื้ออาหารของชำ, การไปพบแพทย์และสถานการณ์อื่นเป็นต้น วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้คนอ่านได้เรียนรู้คำศัพท์และบทสนทนาที่ได้ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน รวมถึงการส่งเสิรมให้รู้จักกับวัฒนธรรมไต้หวัน นอกจากนี้ยังมีใบงานเพื่อทำแบบฝึกหัดโดยเฉพาะ และมีคู่มือการใช้งานเป็นจดหมายฉบับยินดีต้อนรับ สิ่งที่พิเศษกว่านี้คือในแพ็คเกจสื่อการเรียนแพ็คเกจนี้ได้ใส่โปรสการ์ดข้าวห่อขมิ้น อันเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงถึงการอวยพรในวัฒนธรรมอินโดฯ และยังนำกระดาษสีขมิ้นทำเป็นที่คั้นหนังสือ มอบกลิ่นอายจากบ้านเกิดและการอวยพรให้อยู่เคียงข้างพวกเขาในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวัน
“พวกเราหวังว่าหนังสือเรียนฉบับนี้ ไม่เพียงแต่ได้สนับสนุนแรงงานต่างชาติในการเรียนรู้ อนึ่ง ได้อยู่เคียงข้างไปพร้อมกับพวกเขา ตลอดการใช้ชีวิตที่อยู่ในไต้หวัน”
หลังผ่านการหยั่งรู้ถึงสภาพปัญหาของแรงงานต่างชาติในไต้หวันแล้ว จึงได้นำแนวทาง “ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง” มาเป็นปัจจัยเริ่มต้นที่พึงคำนึงถึงในการออกแบบ เหตุนี้ทำให้ Book & Host ได้รับเลือกเป็นผู้ชนะเลิศรางวัล Golden Pin Design Award ด้านการออกแบบเพื่อคุณภาพสังคมไว้ได้
จนถึงบัดนี้ “Book & Host” ได้รวมสะสมแพ็คเกจสื่อการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ภาษาจีนมากกว่า 3,000 ชิ้นส่งมอบสู่ 22 จังหวัดในไต้หวัน อย่างไรก็ตาม One-Forty ยังคงไม่ได้จำกัดฝีก้าวที่จะสานสัมพันธ์เชื่อมโยงสังคมไต้หวันกับกลุ่มแรงงานต่างชาติให้หยุดก้าวหน้าอยู่เพียงเท่านี้
ย้อนรอยกลับไปยังเมื่อปี 2015 ในตอนท่ี One-Forty พึ่งได้ก่อตั้งขึ้น ผู้ก่อตั้งสองท่านที่ยังเป็นนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยอยู่ในขณะนั้น ได้นำ “ประสบการณ์แรงงานต่างชาติในไต้หวัน” มาเป็นแกนกลางในการออกแบบ และได้ริเริ่มคาบเรียน “สถาบันชีวิตเพื่อแรงงานข้ามชาติ” มีทั้งคาบเรียนออนไซต์วิชาภาษาจีน, ธุรกิจ, หลักสูตรการถ่ายภาพ และคลิปวิดีโอออนไลน์เพื่อการเรียนรู้บน YouTube เพื่อบริการให้กับนักเรียนแรงงานต่างชาติที่ไม่สามารถเข้าร่วมคาบเรียนออนไซต์ได้ ด้วยเหตุที่ยังต้องทำงานแม้ในวันหยุด
นอกจากนี้แล้ว One-Forty ยังมุ่งมั่นที่จะผูกสานสัมพันธ์แรงงานต่างชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไต้หวัน ได้จัดตั้งชุมชนแรงงานต่างด้าวที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 70,000 คน อีกทั้งยังประสบความสำเร็จด้านการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโดยใช้ภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงระหว่าง COVID-19 แพร่ระบาด พร้อมผลักดันให้แรงงานต่างชาติกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มสมาชิกที่สำคัญอย่างมองข้ามไม่ได้ในเครือข่ายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด
“พวกเราหวังว่าองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสามารถมองเห็นความต้องการและปัญหาจากแนวหน้าสังคมได้ เห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างค่านิยมผ่านการออกแบบ นำอานุภาพของการออกแบบมาแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง”
องค์การไม่แสวงหาผลกำไร ดูเหมือนว่าจะไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการออกแบบ ทว่าแต่ว่า “หลังจากที่ One-Forty ได้ก่อตั้งครบรอบปี ทางทีมงานเราได้ตั้งวิสัยทัศน์หนึ่งอย่างกล้าหาญไว้, สิ่งนี้คือ Redesign NPO” ผู้ก่อตั้ง Kevin ได้กล่าวขึ้นบนเวทีหลังได้รับรางวัล Golden Pin Design Award เขามุ่งหวังที่จะนำการออกแบบมาแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง โดยผ่านองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรรูปแบบใหม่ และความประสงค์ไม่ได้มีเพียงแต่เท่านี้ อีกทั้งยังรวมถึงการออกแบบภาพจำกับค่านิยมที่สังคมมวลชลมีต่อองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มุ่งหวังให้องค์กรได้เจาะรู้ถึงความต้องการกับปัญหาอยู่บนแนวหน้าสังคม ในท้ายสุดจะสามารถนำแนวคิดจากการออกแบบ มาแสวงหาวิธีการแก้ไขในรูปแบบใหม่ และสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ต่อไปจากกระบวนการเดิม