พากระจกแก้วสู่นิทรรศการ มองการผลิตแก้วผ่านเลนส์เศรษกิจหมุนเวียน

หลังจากที่ได้ดื่มเบียร์ไป ก็อดที่เกิดข้อสงสัยขึ้นมาไม่ได้กับขวดเบียร์ในมือ “แล้วขวดจะถูกส่งไปที่ไหนต่อล่ะ?”  หากคิดซับซ้อนกว่านี้ละก็ จวบจนถึงพวกอะลูมิเนียมออกไซด์จากจอโทรศัพท์ กับหน้าจอกระจกที่ถูกทิ้งเสีย ปัญหาเหล่านี้จะถูกจัดการต่อไปอย่างไร

กระบวนการรีไซเคิลกระจกแก้ว ( ภาพจาก : Spring Pool Glass)

อดีตที่ผ่านมาไต้หวันเคยมีช่วงยุคทองของอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว มีผลิตภัณฑ์แก้วร้อยละ 40 จากทั่วโลกส่งออกจากไต้หวัน  แต่นั้นแล้วตามด้วยต้นแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น โรงงานผลิตก็ได้โยกย้ายไปยังประเทศจีนและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ อุตสาหกรรมการผลิตแก้วจึงได้กลายไปเป็นธุรกิจดั้งเดิมไปอย่างเรียบร้อย ทว่าแต่ ในนี้กลับมีโรงงาน “Spring Pool Glass” ที่ได้นำใช้นวัฒกรรมใหม่กับวัสดุแก้วมาพัฒนา จึงมีโอกาสการอยู่รอดกลับมาได้

สิ่งที่น่าสนใจคือ โรงงานผลิตแก้วจากเดิมแรก เกิดได้ยึดหลักการรักษาสิ่งแวดล้อมจากหลายปีที่ผ่านมา ทุกปีจะมีการเก็บรีไซเคิลแก้วที่ถูกทิ้งร่วมแสนตัน ให้ผ่านการถูกจัดแยกหมวดหมู่และลงมือจัดการ แปลงรูปเป็นวัสดุที่นำมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ได้ เพื่อส่งต่อความยั่งยืนให้กับโลก รวมถึงบริหารธุรกิจให้ยืนยาวได้ โดยเหตุนี้จึงถูกมอบให้มีศักดิ์อย่าง “เศรษฐกิจหมุนเวียน”มาได้

มาออกแบบผลิตภัณฑ์จากแก้วที่ถูกทิ้ง มอบคุณค่าจากการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่

เพียงแต่นั้นแล้วสำหรับธุรกิจรุ่นสืบต่ออย่าง T.A Wu จาก Spring Pool Glass  กล่าวว่า “เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่เพียงแต่เป็นการรีไซเคิล  แต่ยังคือการสร้างคุณค่าขึ้นมาใหม่ได้”ตามเหตุนี้จึงได้เกิดเป็น W Glass Project ออกมา ถ้าหากไม่ได้จัดการกับของรีไซเคิลอย่างเหมาะสมได้ มันก็ยังคือของทิ้งเสียอยู่ดี  ในโปรเจ็ค W Glass เลยได้เชื่อมโยงเหล่านักรีไซเคิลมา นำขยะแก้วมาจัดการเป็นวัสดุ ผ่านการคิดค้นของนักออกแบบต่อแก้วที่ได้จากการรีไซเคิลโดยทั้งหมด มารังสรรค์อีกที ใช้ขยะแก้วที่ถูกเสียแต่แรก ส่งต่อให้มีรูปลักษณ์อันใหม่และมีมูลค่าได้

PiliWu-Design นำวัสดุแก้วที่ถูกรีไซเคิลมาของ Spring Pool Glass ไต้หวัน มาออกแบบเป็นแก้วชานมของ Chun Shui Tang ( ภาพจาก : Spring Pool Glass)

อนึ่ง ยังได้ร่วมงานกับ W Hotel เอาขยะแก้วที่ถูกใช้ทิ้งของบาร์ในโรงแรม ให้ผ่านกระบวนการจัดการของ Spring Pool Glass ให้กลายมาเป็นหินแก้วนาโนที่มีความแปลกใหม่สละสลวย มาเป็นวัสดุตกแต่ง คืนกลับไปในตัวโรงแรมอย่างเดิม หรือทั้งนี้แล้ว ยังมีพัฒนาการออกแบบแก้วรีไซเคิลสินค้าอย่างแก้ว “WOWMOON” กับขนมไหว้พระจันทร์ รังสรรค์คุณค่าใหม่เพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคได้

WOWMOON ได้ชนะรางวัลพิเศษในรางวัลการออกแบบหมุนเวียน ในงาน Golden Pin Design Award ประจำปี 2018 (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )

แบบจำลองธุรกิจที่เข้าถึงหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน นำวัสดุต้นทางและของใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

หลังมีการออกแบบสินค้าด้วยแก้วรีไซเคิล ต่อมา Spring Pool Glass ก็ได้ก้าวไปอีกขั้นด้วยการเริ่มต้นกิจกรรม W Loop Action ให้ร้านค้าที่เข้าร่วมมาใช้ภาชนะแก้วของ Spring Pool Glass เมื่อทำแก้วแตกระหว่างที่ไม่ได้ระวัง แก้วที่บุบสลายนั้น สามารถอิงตามรูปแบบการหมุนเวียนรีไซเคิลของ W Loop ให้ได้รับภาชนะแก้วใบใหม่ ผ่านการปฏิบัติของร้านค้ามาเป็นแบบอย่าง โปรโมทกิจกรรมวัสดุแก้วหมุนเวียนให้กับผู้บริโภคได้ เชิญชวนคนทั่วไปให้ออกมาเคลื่อนไหวแนวทางการหมุนเวียนร่วมกัน

รูปทรงสิบสองหน้ารอมบิก กับการเคลือบสีเหลืองใสโดยงานกระจกสีเป็น W Glass ได้ชนะรางวัลพิเศษในรางวัลการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในงาน Golden Pin Design Award ประจำปี 2019 (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )

นิทรรศการวัสดุขยะเศษแก้ว พาทางทุกคนให้ได้ทำความเข้าใจใกล้ชิดต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน

นอกจากการออกแบบสินค้า กับการนำเอาหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาเป็นแนวคิดในแบบจำลองธุรกิจแล้ว มากไปกว่านั้นคือผ่านวิธีการแสดงนิทรรศการ เลื่อนใกล้ช่องว่างระหว่างคนทั่วไปกับประเด็นที่น่าเบื่อหน่ายอย่างเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้

ในการร่วมมือของทาง The Loop Circular Design Exhibition กับ Joe Fang Studio ตามเอาเสียงของแก้วมาเป็นใจความสำคัญให้แทรกผ่านงานนิทรรศการทั้งหมด เริ่มแรก มีการนำแก้วที่ถูกทิ้งหลักพันใบเข้ามาอยู่ในนิทรรศการ กองรวมกันเป็นรูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ จากนั้นหลังสวมหูฟังจะได้ยินเสียงของกระบวนการเก็บรีไซเคิลแก้ว มาเป็นเสียงรบกวนที่แหลมคม ในบริเวณนิทรรศการถัดไป คือระเบียงลมพัดแก้ว ยามเมื่อคนเดินผ่าน จะได้ยินเสียงที่เหมือนเสียงระฆัง บริเวณนิทรรศการสุดท้ายคือการรับฟังแผนการเกี่ยวกับการออกแบบหมุนเวียน บางทีอาจมีลูกชายที่เอ่ยถามขึ้นมาว่า “พ่อครับ ลูกแก้วพวกนี้มันมาจากไหน” เพียงแต่นี้ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เริ่มขึ้นระหว่างคุณพ่อกับลูก พูดคุยเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน และประเด็นอย่างความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม

สวมหูฟังเทสต์เสียงแหลมคมอันเกิดจากกระบวนการการรีไซเคิลแก้ว ( คลิปเสียง YouTube ; ภาพจาก Golden Pin Design Award )
​​ผ่านเข้าระเบียงลมพัดแก้ว ใบแก้วจะถูกกระพือออกเสียงไปตามการเคลื่อนไหว (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )
ข้างหนึ่งได้เหยียดขาอยู่บนสระ ที่ปูไปด้วยลูกแก้วพฤกษชาติ อีกด้านคือการรับฟังเสียงประกอบที่จัดทำจากกระบวนการผลิตแก้ว ( คลิปเสียง YouTube ; ภาพจาก Golden Pin Design Award )
นิทรรศการการออกแบบหมุนเวียน The Loop ได้รับรางวัลพิเศษหมวดการออกแบบอาคารแบบบูรณาการ ในงาน Golden Pin Design Award ประจำปี 2021(ภาพจาก Golden Pin Design Award )

การออกแบบหมุนเวียน ไม่จำเป็นที่จะใช้เทคโนโลยีอันล้ำเลิศ สิ่งสำคัญคือนักออกแบบได้พิจารณาถึงการเลือกใช้วัสดุ คำนึงถึงแบบจำลองธุรกิจ จนส่งผลกับผลการใช้งานของผู้บริโภคได้ ให้ผู้คนที่ได้ซื้อหรือได้ใช้ทรัพยากรนั้น ได้ตระหนักรู้ในการใช้สอยได้ จึงจะนำพาให้ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมลุล่วงเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนได้