สถาปัตยกรรมร่วมสร้างด้วยไม้ ให้การอยู่ต่อของพลังชีวิตต่อเนื่องมายังสถานที่ภายใน —— Forest-Wood Archi-Tect. NK

คุณอาจมีข้อสงสัย กับการออกแบบสถาปัตยกรรมของไต้หวัน ที่ได้ยินผ่านหูมาบ้างว่า ทำไมเหมือนมีสถาปัตยกรรมก่อสร้างด้วยวัสดุไม้น้อยมากอย่างงั้นหล่ะ ?

ความจริงแล้ว ไต้หวันมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง ในช่วงที่ประเทศยังตกเป็นจักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น มีอัตราการส่งออกส่วนร้อยละ 70 ที่เป็นสินค้าอย่างไม้ฮิโนกิกับการบูร ด้วยเหตุที่ต้องขนย้ายไม้ลงเขาในตอนนั้น จึงเริ่มมามีทางรถไฟอาลีซานที่เป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน ทว่าแต่ เมื่อผ่านช่วงเวลาที่มีการตัดไม้อย่างหนักหน่วง ป่าไม้ฮิโนกิดั้งเดิมนานล้านปีถูกตัดขวาน เพื่อชดเชยความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  30 ปีที่แล้วไต้หวันก็ได้ห้ามการลักลอบตัดป่าไม้ดั้งเดิมไปทั้งหมด ส่งผลให้อตุสาหกรรมไม้ทยอยเสื่อมถอยลง แม้นว่ารัฐบาลจะรณรงค์ให้สามารถตัดป่าไม้เพาะปลูกได้ แต่อัตราส่วนในการใช้แหล่งไม้ที่เพาะปลูกในไต้หวันยังน้อยเกินไป ส่วนมากยังคงพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศ

(ภาพจาก : Forest-Wood Archi-Tech. NK )

ในปี 2017 สถาปนิกเอินข่าย (NK) ได้จบการศึกษาจากวิทยาลัยสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปัตยกรรม (AA School ) จากนั้นได้เดินทางกลับมายังไต้หวัน ระหว่างที่เรียนป.โท “Design and Make” วิชาเอกการออกแบบโครงสร้างไม้และการใช้งานในอังกฤษ  NK ได้เก็บตัวอยู่ใน Hooke Park ที่กว้างประมาณ 6 ไร่ เพื่อที่จะศึกษาวัสดุโครงสร้างไม้

“ผมอยากทำในสิ่งที่สัมพันธ์กับที่ดิน สามารถหาแหล่งวัสดุต้นทางโดยตรงในประเทศ มาเป็นวิธีการก่อสร้างได้”

NK

ต่อมา NK จึงได้ก่อตั้ง Forest-Wood Archi-Tect. NK กับสำนักงาน Curvink Architects นำประสบการณ์ที่ได้เรียนมาจากต่างประเทศ มาต่อยอดเป็นการประยุกต์ใช้ไม้จากไต้หวัน เข้ามาในสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายใน ให้พลังชีวิตของป่าไม้ได้อยู่รอดต่อในสถานที่แห่งนั้น

EMBERS พื้นที่บาร์แบบไม้โค้งงอ

NK ได้ผ่านความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุโครงไม้สน นำต้นสนซีดาร์ญี่ปุ่นพันธ์ุไต้หวัน สามต้นที่มีความสูงถึง 25 เมตร มารื้อคลายออกมาเป็นโครงสร้างใหม่ เขานำเนื้อไม้ทั้งต้นออกมาตัดแบ่งกับอบแห้ง ต่อจากนั้นใช้ความดันไอน้ำอุหภูมิสูงตามธรรมชาติ ให้วัสดุไม้อ่อนตัวลงและดัดงอ หลังรอให้ไม้ได้มีรูปร่างคงที่แล้ว จึงเอามาประกอบเป็นแนวเส้นไดนามิกในพื้นที่บาร์ บวกกับแผ่นไม้ 50 แผ่นที่ถูกประกอบเป็นรังไม้โคมระย้า ประดับลอยอยู่ด้านบน 

การออกแบบนี้ ใช้ความคิดช่างประดิษฐ์โดยมอบรูปโฉมใหม่ให้กับไม้ เช่นเดียวกับเชฟที่ต้องพึ่งนำความรู้ต่อวัถุดิบอาหารมาแปรรูป อีกด้านหนึ่งคือแนวเส้นไดนามิกของไม้สนที่ลื่นไหล ก็ดุจดั่งเชฟที่มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่วในการจัดทำอาหาร

พื้นที่บาร์เบนท์วูด EMBERS ได้รับรางวัล Golden Pin Design Award สาขาการออกแบบพื้นที่ ในการออกแบบประจำปี 2020
ใช้ต้นซีดาร์ญี่ปุ่นพันธ์ุไต้หวัน มาประกอบเป็นบาร์รูปแนวเส้นไดนามิก ดุจเช่นเชฟที่มีความรู้ถึงต่อวัถุดิบอาหาร นำวัถุดิบมาประกอบดัดแปลงใหม่ และเสนอให้มีรูปโฉมที่ต่างจากเดิม (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )

ได้มีการหยิบนำเอาความตั้งใจของเชฟที่เริ่มมาตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ จนส่งต่อเป็นอาหารโฉมใหม่บนโต๊ะอาหารได้ รวมเข้ากับ NK และทีมงานครีเอทีฟจากทาง Curvink Architects ที่นำเอาทรัพยากรยั่งยืนของการป่าไม้ ผ่านวิธีการเบื้องต้นที่เป็นมิตรอย่าง — การอบไอน้ำให้ไม้งอตัว นำเสนอมาเป็นบาร์ประดิษฐ์ด้วยงานฝีมือ ส่งเสริมแหล่งไม้ในประเทศ โดยมอบชีวิตรูปโฉมใหม่ กับส่อให้เห็นถึงคุณค่าด้านความยั่งยืนของการป่าไม้ในทางธุรกิจ

ใช้ต้นชีดาร์ญี่ปุ่นพันธุ์ไต้หวันเป็นเคาน์เตอร์กลางบาร์ในพื้นที่ สามารถใช้เป็นจุดทำงานเคาน์เตอร์หน้าได้ อีกทั้งยังมีช่องแช่ที่เก็บไวน์ และฟังก์ชันซิงค์ล้างน้ำที่เพียบพร้อม (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )

อุตสาหกรรมการผลิต โรงงานฝาครอบไทเป Maker Space

ด้วยการคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ และการประดิษฐ์โดยตนของ Maker Space สถาปนิก NK ได้นำ “อิงการย้อนรอย ต่อคะนึงถึงเนื้อส่วนประกอบ” มาเป็นแนวคิด อย่างเคยคือได้ใช้ต้นสนซีดาร์ญี่ปุ่นพันธ์ุไต้หวัน ที่ไม่นิยมใช้ในการก่อสร้าง เลือกต้นที่มีความยาวถึง 25 เมตรมาประยุกต์ใช้สอยให้หมดทั้งลำต้น ต่อด้วยการถูกแปลงมาเป็นเคาน์เตอร์บริการ ที่โชว์สินค้า โคมไฟ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายจากการประดิษฐ์ผ่านการป่าไม้ และผู้สร้างสรรค์ที่จัดสร้างผลงานด้วยตน

เมื่อเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน Maker Space โดยเริ่มแรกจะได้เห็นชั้นแขวนสาธิตสินค้า ที่ทำมาจากลำต้นต้นซีดาร์ญี่ปุ่นพันธ์ุไต้หวัน อันต่อมาคือเฟอร์นิเจอร์ และเคาน์เตอร์ที่โชว์อันดัดแปลงมาจากวัสดุไม้แบบเดิม เฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ได้ติดล้ออันใหญ่เล็กที่แตกต่างกันไป เพื่อสะดวกในการใช้เมื่อทำกินกรรมในอนาคต ปลายกิ่งไม้ที่เหลือของต้นทั้งหมดนั้น ก็ได้ห่อมัดรวมกันมาเป็นเคาน์เตอร์บริการ

อุตสาหกรรมการผลิตโรงงานฝาครอบไทเป Maker Space ได้รับรางวัล Golden Pin Design Award สาขาการออกแบบพื้นที่ ในการออกแบบประจำปี 2021   (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )
เมื่อเข้ามายัง Maker Space สิ่งที่ผ่านเข้ามาในสายตาอย่างแรกก็คือชั้นสาธิตสินค้าที่ทำมาจากลำต้นซีดาร์ญี่ปุ่นพันธุ์ไต้หวัน   (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )
กิ่งไม้ต้นซีดาร์ญี่ปุ่นพันธุ์ที่ถูกห่อมัดรวมกันเป็นเคาน์เตอร์บริการ และเปลือกไม้ที่ตัดเหลือจากโต๊ะ ได้ดัดแปลงเป็นโคมไฟด้านบน  (ภาพจาก : Golden Pin Design Award)
Maker Space ได้สงวนเส้นโคจรกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตฝาครอบ ด้านหน้าคือโต๊ะไม้ป่าสามตัว ที่สามารถปรับใช้ได้อย่างอิสระ ให้ไปตามกิจกรรมแบบเป็นโต๊ะยาว 18 เมตรได้ เพื่อสะดวกต่อผู้เมคเกอร์ยามเข้าคอร์สงานประดิษฐ์   (ภาพจาก : Golden Pin Design Award )
(ภาพจาก : Forest-Wood Archi-Tech. NK )

“ เมื่อทุกคนต่างโยงคุยถึงประเด็นความยั่งยืน สิ่งที่หยิบนำมาพูดล้วนแต่พาดผิงถึงประเด็นนี้ยั่งยืน ซึ่งสำหรับผมแล้ว การป่าไม้คือสิ่งที่ผูกโยงถึงความยั่งยืนได้อย่างมากที่สุดแล้ว” ต้นไม้หนึ่งต้นต้องใช้เวลาในการเติบโตในป่า 25 – 30 ปี ถึงจะกลายเป็นวัสดุไม้ให้คนมาใช้ได้  สิ่งที่ NK ได้ยึดตามคือการเคารพต่อผืนป่าและไม้ เน้นการใช้วัสดุให้หมดลำต้นเต็มที่ ในประโยชน์การใช้สอย นำวัสดุไม้มาต่อประกอบกันโดยไม่ใช้ดอกตะปูแรงดันสูง ตามวิธีการที่เป็นมิตรเพื่อให้วัสดุไม้ทั้งหมดสามารถรีไซเคิลกลับมาสร้างใหม่ได้

เมื่ออุตสาหกรรมป่าไม้ในไต้หวันกลายเป็นธุรกิจที่ทยอยเสื่อมสลายไปตามเวลา แม้แต่เหล่าอาจารย์ช่างไม้ที่มีอายุล่วงไปมากแล้ว ก็ยังไร้ทายาทสืบทอดงานประดิษฐ์ของการป่าไม้ได้ สถาปนิก NK ได้นำความเข้าใจต่อลักษณะประจำของวัสดุไม้ นอกจากการสร้างไม้เป็นทรวดทรงใหม่แล้ว ยังได้ประดิษฐ์สร้างสรรค์ให้จินตนาการถึงประโยชน์การใช้ของการป่าไม้ได้