【Spatial Design】สถานีต่อไป..ไต้หวัน! เปิดประสบการณ์การนั่งรถไฟแบบใหม่ผ่านการออกแบบ

วันหยุดเดือนพฤษภาคมผ่านไปแล้ว มีใครมีแพลนสำหรับทริปในวันหยุดถัดไปแล้วบ้างหรือยัง? ไฟลท์บิน 4 ชั่วโมงจากไทยไปไต้หวัน เที่ยวได้ครบทั้งภูเขาและทะเล ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน ก็ฟังดูกำลังดีไม่ต้องเร่งรีบเกินไปนัก เพราะแม้ว่าจะอยู่ในช่วงระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ก็ยังสัมผัสได้ถึงความสวยงามของการออกแบบพื้นที่และฟังก์ชันการใช้งานที่ลงตัว ทำให้คุณรู้สึกประหลาดใจได้อีกครั้งกับความสวยงามของไต้หวัน

ไม่รู้ว่าคนไทยมากน้อยเท่าไหร่ที่มักจะเลือกนั่งรถไฟเวลาท่องเที่ยวตามจังหวัดหรือพื้นที่ต่างๆ เมื่อมาถึงไต้หวัน เนื่องจากแม้จะเป็นคนไต้หวันเองในอดีตก็มีภาพจำว่าการนั่งรถไฟก็เป็นเพียงแค่วิธีหนึ่งเพื่อให้เดินทางไปถึงจุดมุ่งหมายได้เท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการเดินทางที่ใช้เวลานาน อาจจะต้องนั่งเฉยๆกว่า 3-4 ชั่วโมงในการเดินทางแต่ละครั้ง

อย่างไรก็ตาม รถไฟชมวิว “หมิงรื่อเฮ่า (The Future)” ของไต้หวันจะเปลี่ยนภาพจำของขนส่งสาธารณะให้กลายเป็นเรื่องที่น่าเซอร์ไพรส์สำหรับนักท่องเที่ยว

ภาพรถไฟหมิงรื่อที่ได้รับรางวัล Architizer A+ Awards, Special Mention (ที่มา: JC. Architecture & Design)

ในไต้หวัน รถไฟชมวิวเป็นหนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีตั้งแต่อดีต เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่การคมนาคมยังเข้าไม่ค่อยถึงนัก จึงจัดโปรแกรมให้ผู้โดยสารสามารถซื้อบัตร เป็นแพคเกจเหมือนไปทัวร์ในไต้หหวัน เช่นแพคเกจ 2 วัน 1 คืน โดยจะต้องขึ้นรถไฟเพื่อโดยสารไปยังสถานที่ท่องเที่ยวและสามารถแวะพักตามจุดต่างๆ เหมือนการท่องเที่ยวทั่วๆไปได้ ราคาที่จ่ายในแพคเกจนี้จะรวมถึงทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นค่าโดยสารรถไฟ ค่าที่นอนบนรถไฟ และจัดอาหารอย่างดีเพื่อความประทับใจของลูกค้า แต่เนื่องจากเดิมทีรถไฟชมวิวในไต้หวันในอดีตออกแบบมาเพื่อการใช้งานจริงมากกว่าการเน้นด้านความสวยงาม ทำให้นักท่องเที่ยวบางคนยังลังเลไม่อยากจะใช้บริการสักเท่าใดนัก

“อาจจะเป็นเพราะว่าตอนนั้นรัฐบาลกั๋วหมินตั่งยังไม่ได้คิดถึงการลงรากปักฐานในไต้หวันระยะยาว ทำให้การออกแบบโฟกัสไปที่การออกแบบให้ใช้งานได้จริงโดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม” หลังจากเปิดใช้บริการรถไฟชมวิวเพื่อการท่องเที่ยวมาแล้วกว่า 20 ปี หน่วยงานกรมการรถไฟในไต้หวัน (Taiwan Railways Administration) ได้เชิญบริษัทออกแบบ JC. Architecture & Design มาเพื่อให้ช่วยออกแบบรถไฟที่มีประวัติกว่า 70 ปีขึ้นใหม่ โดยคุณชิวป๋อเหวิน (Johnny Chiu) ผู้ก่อตั้ง JC. Architecture & Design ได้แชร์ความท้าทายของการออกแบบ “รถไฟหมิงรื่อ (The Future)” ขึ้นใหม่ว่าด้วยความที่ รถไฟหมิงรื่อก่อสร้างขึ้นมาจากการที่รัฐบาลก่อนๆเน้นการใช้งานมากกว่าความสวยงาม ทำให้ขาดการคุมโทนการออกแบบ ความสวยงาม  และการคำนึงถึงประสบการณ์ที่ผู้โดยสารจะได้รับจากการนั่งรถไฟ

รถไฟหมิงรื่อถูกออกแบบภายใต้คอนเซปท์ “สายลมในฤดูใบไม้ร่วง” ที่ได้ไอเดียมาจากสีส้มและดำที่ถูกใช้เป็นสีหลักตั้งแต่การออกแบบรถไฟจวี่กวางที่ใช้งานมาแล้วกว่า 70 ปี เพื่อให้เป็นทัศนียภาพของผู้ชมนอกหน้าต่างได้มองขณะที่รถไฟกำลังแล่น นอกจากนี้ การวิจัยการออกแบบพบว่าสีดำของรถไฟจวี่กวางเฮ่า เป็นสีดำของจักรพรรดิ เนื่องจากเป็นสีที่ใช้ในการออกแบบรถไฟยุคแรกของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ใช้โดยสารมาไต้หวัน และรูปแบบตัวอักษรบนตัวรถก็เป็นรูปแบบที่หลงเหลือมาจากช่วงที่ไต้หวันตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของญี่ปุ่น โดยองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วนนี้ยังถูกเก็บไว้ในและใช้ในการออกแบบรถไฟหมิงรื่อขึ้นใหม่ เพื่อสืบสานภาพความทรงจำของผู้โดยสารที่มีต่อรถไฟในยุคก่อนๆต่อไป

ภาพรถไฟหมิงรื่อที่ได้รับรางวัล Architizer A+ Awards, Special Mention (ที่มา: JC. Architecture & Design)

การตกแต่งภายในของขบวนรถไฟได้ใช้สีฟ้าและเทาเป็นหลักเพื่อสะท้อนภาพท้องทะเลรอบๆไต้หวันและทิวทัศน์ที่ล้อมรอบด้วยหินในอุทยานแห่งชาติทาโรโกะ (Taroko Gorge) ในฮวาเหลียนของไต้หวัน โดยที่การใช้สีไม่ได้เรียบง่ายอย่างที่มองเห็นเท่านั้น เพื่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ที่สะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร สีที่ใช้ได้ทำการปรับจากอุณหภูมิสีที่ 6000K ให้กลายเป็น 3000K เพื่อให้ผู้โดยสารที่นั่งบนรถสามารถพักผ่อนและได้รับความผ่อนคลายมากขึ้นขณะเดินทาง

ภาพการออกแบบภายในของขบวนรถไฟหมิงรื่อ (ที่มา: JC. Architecture & Design; ช่างภาพ: Kuomin Lee)

ต่อมาในปี 2020 หลังจากที่ได้ปล่อยรถไฟหมิงรื่อขบวนแรกออกวิ่งอย่างเป็นทางการครั้งแรก บริษัท JC. Architecture & Design ก็ได้เสนอความคิดสุดแหวกแนวขึ้นใหม่ว่า “ถ้ามีร้านอาหารที่ถูกรายล้อมด้วยทิวทัศน์อันสวยงาม เสิร์ฟด้วยอาหารรสเลิศของไต้หวัน มันจะน่าตื่นเต้นขนาดไหน” ผู้ก่อตั้ง JC. Architecture & Design คุณชิวป๋อเหวิน (Johnny Chiu)  จินตนาการถึงการนำวัฒนธรรมทางอาหารมาเชื่อมโยงกับทิวทัศน์อันสวยงามของไต้หวันขณะอยู่บนรถไฟ ทำให้ออกมาเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่และไม่เหมือนใครของนักเดินทาง

ภาพห้องทานอาหารรถไฟหมิงรื่อที่ได้รับรางวัล Golden Pin Design Award ยอดเยี่ยมแห่งปี 2022 และรางวัล Good Desgin Award ของญี่ปุ่น (ที่มา: JC. Architecture & Design; ช่างภาพ: Kuomin Lee)

“ห้องทานอาหารเคลื่อนที่หมิงรื่อ (The Moving Kitchen)” จึงถูกสร้างขึ้นภายใต้ความคิดดังกล่าว โดยได้ออกแบบผ่านการผสานคอนเซปท์การให้ความสะดวกสบายของการโดยสารรถไฟหมิงรื่อเข้ากับการเดินทางโดยได้รับความร่วมมือจากอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม เพื่อสร้าง “ห้องทานอาหารห้าดาวเคลื่อนที่ได้” ที่บรรจุได้กว่า 54 ที่นั่ง โดยรูปแบบการดีไซน์ห้องอาหารเคลื่อนที่นี้ใช้สีเข้มเป็นแกนและเลือกสรรวัสดุต่างๆ เช่น หวาย ไม้ และหินในการตกแต่งภายในเพื่อดึงสีสันท้องถิ่นของไต้หวันออกมาให้เห็น รวมถึงใช้วัสดุประเภทหินอ่อนสีขาวเพื่อขับเน้นความสวยงามของอาหารและการจัดไฟให้เป็นโทนอุ่นเพื่อเพิ่มบรรยากาศในการรับประทานอาหาร

เก้าอี้ไม้ไผ่ออกแบบโดย JC. Architecture & Design ซึ่งใช้การทอผ้าแบบดั้งเดิมของไต้หวันผสานเข้ากับที่วางแขนที่ออกแบบตามรูปทรงด้านหน้าของรถไฟ (ที่มา: Golden Pin Design Award; ช่างภาพ: Kuomin Lee)

สิ่งที่พิเศษที่สุดของรถไฟขบวนนี้คือ การที่ผู้โดยสารสามารถลิ้มลองทั้งรสชาติอาหารและทิวทัศนด้านนอกได้อย่างมีสุนทรียภาพ ในขณะที่รถไฟขับผ่านภูเขา ทะเลหรือแม้แต่ขณะลอดอุโมงค์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความมืดสว่างจากธรรมชาติ โดยทัศนยภาพและการเปลี่ยนแปลงของแสงตามธรรมชาติเหล่านี้ล้วนถูกนำมาใช้เพิ่มประสบการณ์การรับประทานอาหารผ่านการมองออกไปนอกหน้าต่าง ขับเน้นให้รสชาติอาหารและไวน์ในมืออร่อยมากขึ้นยิ่งกว่าปกติ

ภาพห้องครัวในห้องทานอาหารเคลื่อนที่หมิงรื่อ (ที่มา: JC. Architecture & Design; ช่างภาพ: Kuomin Lee)

ไอเดียการสร้างห้องทานอาหารเคลื่อนที่กลายเป็นความท้าทายหนึ่งในการออกแบบพื้นที่บนรถไฟ เพราะว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในการออกแบบห้องอาหารเคลื่อนที่หมิงรื่อ ไม่ใช่การที่ต้องซื้อรถไฟมาจากต่างประเทศ แต่เป็นการที่ต้องนำรถไฟที่มีอายุการใช้งานมาแล้วกว่า 70 ปี มาสร้างร้านอาหารที่มีความยาวถึง 3 ขบวน ดังนั้น ขณะที่ออกแบบคุณชิวป๋อเหวิน (Johnny Chiu) จึงจำเป็นต้องนำ “ทุกๆรายละเอียด” มาพิจารณาและคำนวนอย่างแม่นยำ

ตัวอย่างเช่นปัญหาการสั่นสะเทือนบนรถไฟขณะเคลื่อนที่ ซึ่งตามข้อบังคับของกฎหมายแล้ว ที่นั่งบนรถไฟต้องยึดไว้กับพื้น แต่การออกแบบก็ยังต้องดีไซน์ให้มีความรู้สึกกว้างขวางสะดวกสบายไปด้วยในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังต้องใช้วัสดุพิเศษในการทำโต๊ะหรือที่วางแก้ว ถึงจะป้องการการลื่นไถลของบรรดาอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารได้

ภาพการออกแบบตกแต่งภายในบริเวณห้องอาหารเคลื่อนที่หมิงรื่อ (The Moving Kitchen) (ที่มา: JC. Architecture & Design, Golden Pin Design Award;  ช่างภาพ: Kuomin Lee)
ภาพห้องทานอาหารเคลื่อนที่หมิงรื่อก่อนและหลังรีโนเวท (ที่มา: JC. Architecture & Design; ช่างภาพ: Kuomin Lee)

รถไฟหมิงรื่อ และห้องทานอาหารเคลื่อนที่หมิงรื่อ ไม่เพียงแต่ได้รับรางวัลจาก Golden Pin Design Award เท่านั้น แต่ยังได้รับการยอมรับจาก Good Design Award ของญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญในการออกแบบรถไฟด้วย

โดยหลังจากได้รับรางวัล นักออกแบบคุณชิวป๋อเหวิน (Johnny Chiu) ได้ออกมากล่าวว่า การนำรถไฟเก่ามารีโนเวทให้กลายเป็นการรถไฟสำหรับท่องเที่ยวเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ไม่ค่อยได้เห็นได้จากประเทศอื่นๆ ซึ่งนอกจากการนำคุณค่ารูปแบใหม่ของรถไฟออกมาเสนอ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรีโนเวทนี้ยังสามารถนำมาเป็นแมซเสจบอกเล่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไต้หวันสู่สายตาชาวโลกได้ อีกทั้ง ทำให้รถไฟกลายเป็นสิ่งที่ช่วยส่งต่อสืบสานความทรงจำของชาวไต้หวันจากรุ่นสู่รุ่นและช่วยให้คนรุ่นใหม่รู้จักที่มาและเข้าใจความเป็นไต้หวันมากยิ่งขึ้น   

การท่องเที่ยวครั้งต่อไปในไต้หวัน เพื่อนๆ อย่าลืมเพิ่มการลองขึ้นรถไฟหมิงรื่อ (The Future) หรือรับประทานอาหารที่ห้องอาหารเคลื่อนที่หมิงรื่อเข้าไปในแผนการท่องเที่ยวดูล่ะ!